วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 6





บทที่ 5 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์





การพัฒนาระบบสารสนเทศ





ระบบสารสนเทศทางการเงิน






ระบบสารสนเทศยุคโลกาภิวัฒน์

ระบบสารสนเทศยุคโลกาภิวัฒน์


บทนำสารสนเทศทางธุรกิจ


บทนำสารสนเทศทางธุรกิจ

วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Infographic กลยุทธ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

CMO Infographic
        องค์ประกอบของเศรษฐกิจใหม่มี 3 ส่วน ส่วนแรกคือเทคโนโลยีใหม่ ทุกวันนี้จะเห็นได้ว่าผู้คนเชื่อมต่อถึงกันตลอดเวลา จากการสำรวจของ Pew Research Center ระบุว่าประชากรทั่วโลกมีทั้งหมดกว่า 7 พันล้านคน โดยในปี 2555 มีประชากร 6 พันล้านคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย ส่วนนิตยสาร The Economist คาดการณ์ว่าจำนวนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถเชื่อมต่อกันได้จะมีจำนวนถึง 1 หมื่นล้านเครื่องภายในปี 2563 และจากงานวิจัยของ Morgan Stanley Research เมื่อปี 2554 ระบุว่า 90% ของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ จะเก็บอุปกรณ์สื่อสารไว้ใกล้ตัวตลอดเวลา

       ส่วนที่สองคือตลาดใหม่ ด้วยเทคโนโลยีใหม่ทำให้เกิดพื้นที่ตลาดรูปแบบใหม่ขึ้นมา อย่างในประเทศอิตาลี University of Bari ได้พัฒนาโซลูชั่นบนเทคโนโลยี Cloud ที่ช่วยให้ชาวประมงสามารถป้อนข้อมูลชนิดและปริมาณของปลาที่จับได้แบบเรียลไทม์จากบนเรือเลย และมีการขายบน Virtual Fish Market ที่ผู้ซื้อเข้ามาดูและสั่งสินค้าได้ทันที ตลาดใหม่นี้ช่วยให้ชาวประมงขายปลาได้หมดก่อนเรือเข้าถึงฝั่ง ชาวประมงจึงมีรายได้เพิ่ม 25% และลูกค้าสามารถรับสินค้าได้ทันทีที่เรือถึงฝั่ง ไม่ต้องรอขนส่งไปตลาดปลาเหมือนสมัยก่อน ทำให้เวลาที่สินค้าไปถึงมือผู้บริโภคลดลงถึง 70%
ส่วนที่สามคือลูกค้าใหม่ พฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ลูกค้าบางคนค้นหาข้อมูลสินค้าทางเว็บไซต์ก่อน จากนั้นไปดูสินค้าจริงที่ร้าน แต่กลับสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์เพราะราคาถูกกว่า บางแบรนด์กำหนดกลยุทธ์การตลาดในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้แบบเจาะจงตัวมากขึ้น ด้วยการเก็บข้อมูลจากทุกจุดที่สัมผัสกับลูกค้า แล้วนำข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์เพื่อนำเสนอโปรโมชั่นที่ตรงใจลูกค้าเฉพาะรายได้

         องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนทำให้เกิดปรากฎการณ์ใหม่คือมีข้อมูลจำนวนมหาศาลเกิดขึ้น ซึ่งเรียกว่า Big Data ข้อมูลเหล่านี้มาจากองค์กรต่างๆ และผู้บริโภคแต่ละคนที่แบ่งปันกันตลอดเวลา มีการประมาณการว่าในแต่ละวันมีข้อมูลใหม่ที่สร้างขึ้นทั่วโลกถึง 2.5 Quintillion ไบต์ หรือเท่ากับ 2,500,000,000,000,000,000 ไบต์ นี่ถือความท้าทายของธุรกิจยุคใหม่ว่าจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลปริมาณมหาศาลนี้ได้อย่างไรทีนี้ลองมารู้จักกับ 4 เทรนด์เทคโนโลยีที่กำลังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจยุคใหม่กัน

Big Data และ Analytics – ทรัพยากรแหล่งใหม่ของโลก

         อย่างที่บอกไปว่าทุกวันนี้มีข้อมูลเกิดใหม่จำนวนมหาศาล ข้อมูลเหล่านี้มีความหลากหลาย เช่น ข้อมูลที่ผู้ใช้ Social Media โพสต์ขึ้นมา ภาพ วิดีโอ ข้อมูลเกี่ยวกับการขาย โปรโมชั่น การซื้อสินค้าทางออนไลน์ อีเมล ข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือ ข้อมูลจาก GPS และอื่นๆ อีกมากมาย จึงมีคำถามเกิดขึ้นว่าเราจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างไร

         จากการสำรวจพบว่า 89% ของผู้บริหารระดับ CEO ต้องการข้อมูล Insight ที่แม่นยำ ผู้บริหารระดับนโยบายจึงต้องการเครื่องมือ ซอฟต์แวร์ หรือโซลูชั่นในการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ หรือ Data Analytics รวมถึงต้องอาศัย Data Scientist หรือผู้เชี่ยวชาญข้อมูลที่ช่วยเปลี่ยนข้อมูลให้เป็น Insight ซึ่ง Gartner คาดการณ์ว่าในปี 2558 ทั่วโลกจะต้องการผู้เชี่ยวชาญด้าน Big Data มากถึง 4.4 ล้านคน แต่ทั่วโลกมีผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ด้าน Big Data เพียง 1 ใน 3 เท่านั้น

        มีกรณีศึกษาของโรงพยาบาลกรุงเทพที่นำเทคโนโลยีมาใช้ในการเข้าถึงและเชื่อมโยงระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลในเครือ 29 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งช่วยให้ลูกค้าและผู้ป่วยได้รับบริการที่ตรงความต้องการเฉพาะบุคคลมากขึ้น เพราะโรงพยาบาลสามารถนำข้อมูลผลการตรวจร่างกายของลูกค้าแต่ละรายมาวิเคราะห์สถิติที่บ่งชี้โรคที่เกิดขึ้นในอดีตถึงปัจจุบันได้ ส่วนโรงพยาบาลก็ได้ประโยชน์จากการใช้ข้อมูลเพื่อวางแผนการลงทุน การบริหารเงิน การจัดการ และการสร้างสรรค์บริการใหม่ๆ ที่เหมาะกับลูกค้าของตนเองได้


Social Network – ไลน์การผลิตแบบใหม่

        Social Network เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้คนพูดคุยกันและสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ซึ่งองค์กรก็สามารถใช้ Social Network เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างพนักงานทั้งองค์กรไม่ว่าจะอยู่แผนกไหนหรือสำนักงานสาขาใดก็ตาม นอกจากนี้ Social Network ยังใช้สร้างและกระชับความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ด้วย ทำให้ลูกค้ามีประสบการณ์ที่ดีต่อแบรนด์

        มีกรณีศึกษาของ CEMEX ซึ่งเป็นบริษัทวัสดุก่อสร้างที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก สามารถเปิดตัวผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปในระดับโลกโดยใช้เวลาเพียง 1 ใน 3 ของที่คาดการณ์ไว้ ด้วยการสร้าง Social Network ภายในองค์กรในปี 2552 เพื่อให้พนักงานใน 50 ประเทศทั่วโลกใช้พูดคุยกัน ภายในหนึ่งปีมีพนักงานกว่า 20,000 คนที่เข้ามาพูดคุยบนเครือข่ายนี้ มีการแชร์ความรู้และไอเดียกันทำให้บริษัทสามารถบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Mobility – ปัจจัยที่ 5 ในชีวิตคนยุคใหม่
        เทคโนโลยีอุปกรณ์สื่อสารไร้สายกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2556 จะมีอุปกรณ์ไร้สายจำนวนหมื่นล้านเครื่องในตลาด และยอดขายทางอุปกรณ์ไร้สายขึ้นมาอยู่ที่ 13.3% ในไตรมาสแรกปี 2555 จาก 7% ในปี 2554

         Gartner Research ระบุว่าในปี 2559 จะมีจำนวน Smartphone ทั่วโลกรวม 1.6 พันล้านเครื่อง และในปี 2557 คนทำงาน 80% จะมีอุปกรณ์สื่อสารไร้สายคนละ 2 เครื่องสำหรับใช้งานกับระบบของบริษัทหรือใช้ข้อมูล ขณะที่งานวิจัยของ Forrester ระบุว่าในปี 2559 พนักงานทั่วโลก 350 ล้านคนจะมี Smartphone ใช้

         นักวิจัยหลายสำนักทั่วโลกคาดการณ์ว่าในปี 2559 ผู้ป่วย 3 ล้านคนทั่วโลกจะใช้อุปกรณ์ติดตามตัวหรือ Remote Monitoring Devices เช่น เครื่องติดตามการเต้นของหรือการทำงานของหัวใจ เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องวัดน้ำตาลในเลือด เป็นต้น ซึ่งจะป้อนข้อมูลเข้าสู่ Smartphone และส่งต่อไปยังแพทย์

        Air Canada ต้องการเป็นผู้นำด้านการให้บริการแบบ Self-service จึงได้ตั้ง “Innovation Team” ขึ้นเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมและบริการแบบ Self-service ที่ตรงใจผู้โดยสารยุคใหม่มากขึ้น โดยพัฒนาบริการต่างๆ บน iPhone และ BlackBerry ที่ช่วยให้ผู้โดยสารดูตารางการบิน จองตั๋ว ดาวน์โหลดบอร์ดดิ้งพาส เช็คอิน ได้ด้วยตัวเอง ช่วยให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกมากขึ้น และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุนให้กับ Air Canada ถึง 80%

ที่มาของเนื้อหา http://macroart.net/2013/08/4-technology-trends-of-new-era/

เทคโนโลยีทางการผลิต


    การเพิ่มผลผลิต  (Productivity)     ได้มีผู้ให้ความหลากหลายแตกต่างกันไป  เช่น  การปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต    การเพิ่มปริมาณผลผลิต   เป็นต้น   ซึ่งความหมายการเพิ่มผลผลิตสามารถแบ่งออกเป็น  2  แนวคิด  คือ
1.  การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์    หมายถึงอัตราส่วนระหว่างปัจจัยการผลิตที่ใช้ไป (Input)  (แรงงาน   เครื่องมือ   วัตถุดิบ   เครื่องจักร   พลังงาน  และอื่น ๆ )   กับผลผลิตที่ได้จากกระบวนการผลิต  (Output)  (ตู้เย็น   รถยนต์   การขนส่ง)   สามารถคำนวณได้จาก
                                การเพิ่มผลผลิต  (Productivity)       =          ผลผลิต  (Output)
                                                                                                  ปัจจัยการผลิต   (Input)
                ซึ่งทำได้ทั้งการวัดเป็นจำนวนชิ้น   น้ำหนัก   เวลา    ความยาว   และการวัดตามมูลค่าในรูปของตัวเงิน
2.  การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางเศรษฐกิจและสังคม   หมายถึงการที่จะหาทางปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ  ให้ดีขึ้นอยู่เสมอ   โดยมีความเชื่อว่าเราสามารถทำสิ่งต่าง ๆ   ในวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานนี้และวันพรุ่งนี้จะดีกว่าวันนี้    ซึ่งเป็นความสำนึกในจิตใจ   (Consciousness   of   Mind)   เป็นความสามารถหรือพลังความก้าวหน้าของมนุษย์ที่จะแสวงหาทางปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ   ให้ดีขึ้นเสมอ  ทั้งเรื่องของการประหยัดทรัพยากร    พลังงาน   และเงินตรา   ที่ต้องร่วมมือปรับปรุงเร่งรัดการเพิ่มผลผลิตในทุกระดับ   เพื่อหาความเจริญมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยโดยรวม
ที่มาของภาพ  http://1.bp.blogspot.com/-Ll5ygfxxcZM/T9xlgKdY-SI/AAAAAAAAADg/SKmSdZ_tNPw/s1600/_copy53.jpg
ที่มา http://intimepr oduct19.tripod.com/about/Untitled-1.html



ที่มาจองคริป http://www.youtube.com/watch?v=iq9V7tyrGPk

การจัดการโลจิสติกส์


         การบริหารการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management) หมายถึง กระบวนการทำงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การดำเนินการ การควบคุม และการควบคุมการทำงานขององค์กร รวมทั้งการบริหารจัดการข้อมูล และธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดการเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ การรวบรวมและการกระจายสินค้า วัตถุดิบ ชิ้นส่วนประกอบ และการบริการให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด โดยคำนึงถึงความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ ทั้งนี้ในปัจจุบันถือว่าการบริหารจัดการโลจิสติกส์เป็นกระบวนการย่อยหนึ่งในการจัดการสินค้าและบริการตลอดสายของโซ่อุปทาน
โลจิสติกส์ (logistics) คือ การพยากรณ์ การวางแผนการผลิต การจัดซื้อ บรรจุภัณฑ์ การเคลื่อนย้ายภายในองค์กร การผลิต คลังสินค้า การขนส่ง การกระจายสินคา การบริการลูกค้า เป็นต้น ทุกกิจกรรมในโลจิสติกส์ต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง และเกี่ยวของกันแบบเป็นกระบวนการ การวัดผลงานการดำเนินงานในกระบวนการของบริษัททั้งหมด หรือทั้งซัพพลายเชน จะเห็นภาพขององค์การมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องมากกว่า การทำงานของแต่ละฝ่าย และมีการแบ่งขอบเขตของโลจิสติกส์ เป็น 2 กลุ่มกิจกรรมหลัก ดังต่อไปนี้
        1. การจัดการวัสดุ (Material Management)
        2. การจัดการการกระจายสินค้า (Physical Distribution Management)

กิจกรรมที่สำคัญของโลจิสติกส์

1. Order management/Customer service คือ การจัดการการรับหรือส่งสินค้า และ การบริการลูกค้า

2. Packaging คือ การคัดเลือกบรรจุภัณฑ์เพื่อมาใช้บรรจุสินค้า

3. Material handling คือ การขนถ่ายวัสดุภายในโรงงาน หรือ ในคลังสินค้า

4. Transportations/Mode of transportations (Domestic & International) คือ การขนส่งสินค้าระหว่างสถานที่ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ

5. Warehouse management (Layout, locations, control technology/equipment, facility) คือ การจัดการคลังสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการวางผังสินค้า หรือ สถานที่ ที่จะตั้งคลังสินค้า

6. Inventory control systems (Qty)/ material management คือ ระบบในการบริหารสินค้าคงคลัง เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนหรือกระจายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. Supplier management/material management คือ การบริหารจัดการผู้ผลิตวัตถุดิบให้เรา (Supplier) เพื่อให้ได้ วัตถุดิบที่มีคุณภาพ และ เพียงพอต่อความต้องการในเวลาที่เหมาะสม

8. Distribution center/distribution hub คือ การกำหนดแหล่งที่ตั้งในการกระจายสินค้า เพื่อให้เกิดการกระจายสินค้าได้อย่างทั่วถึง

9. Manufacturing/production control คือ ระบบควบคุมการผลิต
อ้างอิงรูปภาพ  http://www.mc-alp.com/images/column_1260715567/1260715629.jpg
อ้างอิงเนื้อหา http://www.logisticafe.com/2009/09/logistics-management/



อ้างอิงคริป http://www.youtube.com/watch?v=8bFVjDw1IPQ
ระบบการผลิต คือ การแปรสภาพ ของวัตถุดิบให้เป็น สินค้าหรือผลผลิต ตามกระบวนการการผลิต โดยมีข้อมูลพื้นฐานมาจากการ
วางแผน ที่มีรากฐานมาจากการวิเคราะห์ การพยากรณ์ เช่นข้อมูลการพยากรณ์ ของฝ่ายขาย และ ปัจจัยที่
เกิดขึ้นจริง เช่น ข้อมูลความต้องการจํานวนของผลิต เพื่อสนองตอบความต้องการของตลาด หรือ อื่นๆ
หน้าที่ของระบบการวางแผนการผลิต ในความหมายของทั่วๆไป มีดังนี้
1. การพยากรณ์จํานวนที่จะทําการผลิต และ ปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องในการนํามาใช้ในการผลิต
2. การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการวางแผนการผลิต
3. การวางแผนการผลิต
4. การควบคุมกระบวนการผลิต
5. การควบคุมสินค้าคงคลัง
สามารถเอาระบบคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในส่วนไหนของระบบการผลิตบ้าง
โดยทั่วไป คอมพิวเตอร์สามารถนํามาประยุกต์ใช้กับทุกส่วนงานที่ต้องการซึ่งปัจจัยที่มีผล คือ ความ
สามารถของนักวิเคราะห์หรือนักออกแบบคอมพิวเตอร์และทีมงาน ที่คุณทํางานด้วยซอฟท์แวร์ที่เก่งๆ โดยทั่วไปจะครอบคลุม การพยากรณ์จํานวนที่จะทําการผลิต และ ปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ในการนํามาใช้ในการผลิต เช่น การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการวางแผนการผลิต การวางแผนการผลิต
การควบคุมกระบวนการของการผลิต การควบคุมสินค้าคงคลัง
เมื่อไรที่ควรจะเอาระบบคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้กับระบบการผลิต
เมื่อต้องการให้ มีการผลิตที่ก่อเกิดกําไรที่มากขึ้น และมีความพร้อมในเรื่องของปัจจัยพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับ
การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร
ปัจจัยพื้นฐานที่จะต้องเตรียมก่อนที่จะนําระบบคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้
1. บุคคลที่มีความรู้และความสามารถในเรื่องของการผลิต ที่มากเพียงพอที่จะให้ข้อมูล เพื่อนําไป
พัฒนาเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพได้
2. บุคคลในข้อที่ 1 นั้นจะต้องเป็นคนที่มีความสามารถในการทํางานเป็นทีม
3. หลังจากที่มีการส่งงาน จากส่วนงานคอมพิวเตอร์ จะต้องมีบุคคลที่มีความพร้อมดังที่กล่าวมา
แล้ว ทําการตรวจสอบ ก่อนที่จะนําไปใช้ทําไมต้องเอาระบบคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช์
ดังคํากล่าว “ รู้เขา รู้เรา รบ ร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง ” ในทํานองเดียวกัน ประโยชน์ของการมีความรู้ื้้้้้้้้้ของ
สารสนเทศที่เก่งกล้า ก็เพื่อขจัดปัญหาให้หมดไป บางท่านอาจจะสงสัยว่าเป็นไปได้อย่างไร ข้อมูลที่จะ
กล่าวต่อไปจะสามารถตอบท่านได้
ถ้าคุณมีปัญหาดังต่อไปนี้
1. จะต้องลดหรือเพิ่มผลผลิต เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการจริงของตลาดให้มากที่สุด และ
ทันกับเวลามากที่สุด
2. จะสามารถเพิ่มความสามารถการผลิตให้กับส่วนงานการผลิตได้อย่างไร
3. จะสามารถลดปริมาณผลิตภัณฑ์ที่ต้องทิ้ง เนื่องจากไม่ได้คุณภาพได้อย่างไร
4. จะสามารถสรุปยอดการผลิตในแต่ละช่วงเวลา ให้ไวและละเอียดได้อย่างไร
5. จะสามารถตรวจสอบประสิทธิของ แต่ละส่วนงานการผลิตโดยอิงถึงข้อมูลที่แท้จริงได้อย่างไร
6. จะสามารถวางแผนงานที่เหมาะสม ที่สุดได้อย่างไร
7. ตลอดจนถึงปัญหาอื่นๆอีกมากมาย
ขอแนะนําให้ ตัดสินใจเอาระบบคอมพิวเตอร์มาใช้เถอะ เพราะจะช่วยให้คุณ ได้ข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสิน
ใจ ที่ถูกต้องและรวดเร็ว และการควบคุมงานต่างๆของฝ่ายบริหารจะประสบความสําเร็จลงได้นั้น จะต้อง
อาศัยระบบข้อมูลข่าวสารที่ได้มีการรวบรวมเอาไว้ ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นปัญหายามเมื่อเหตุการณ์ต่างๆเกิด
ขึ้น
สามารถเอาคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้กับระบบงานการวางแผนการผลิตได้อย่างไร
ขั้นตอนการนําเอาคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้กับระบบงานการวางแผนการผลิต มีดังต่อไปนี้หน้าของฝ่ายผลิต
1. กําหนดวัตถุประสงค์ของการนําระบบคอมพิวเตอร์มาใช้งาน
2. กําหนดขอบเขตของระบบงานการผลิต
3. กําหนด ขอบเขตของงานที่ต้องการนําระบบคอมพิวเตอร์ไปใช้
4. ตรวจสอบระบบงานหลังจากที่ฝ่ายคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาเสร็จแล้ว
5. รวบรวมความต้องการ ใหม่ๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้เพื่อนํามาปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ให้มี
ประสิทธิภาพในการทํางานมากขึ้น
หน้าที่ของฝ่ายคอมพิวเตอร์
1. ศึกษาความเป็นไปได้ ที่จะจัดสร้างระบบให้เหมาะสมกับขอบเขตงานที่ฝ่ายผลิตกําหนด
ไว้
2. ศึกษาความเป็นไปได้ ที่จะจัดสร้างระบบให้อํานวยประโยชน์กับระบบงานการผลิต และ
ส่วนงานที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุดที่จะเป็นไปได้
3. กําหนดระยะเวลาในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในแต่ละขั้นตอน โดยมีขั้นตอนต่างๆดัง
นี้
การออกแบบระบบ(System Design )
การกําหนดรายละเอียดของคุณลักษณะที่ควรจะเป็นในแต่ละส่วนงานที่
ออกแบบเอาไว้ (System Specification)
ส่งรายละเอียดของระบบที่ถูกออกแบบเอาไว้ไปให้ฝ่ายผลิตตรวจเช็คว่า
เป็นดังที่ต้องการหรือไม่
ให้ฝ่ายผลิต เซ็นกํากับในรายละเอียดของระบบงาน ที่เขาเห็นด้วยเพราะบางครั้งเมื่อเวลาผ่าน
ไป ผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์มักจะลืมว่าเขาได้เรียกร้องให้ระบบ ช่วยอะไรเขาบ้าง แล้วอาจจะก่อเกิดความขัดแย้ง ในกรณีที่ระบบไม่สามารถสนองตอบ
ความต้องการบางอย่างได้
ทําการพัฒนาโปรแกรมตามรายละเอียดของระบบงานที่่ผ่านความเห็นชอบ
จากฝ่ายผลิตแล้ว ทดสอบระบบ โดยอิงถึงรายละเอียดของระบบที่ได้ออกแบบ เอาไว้
สอนวิธีการใ้้ช้ระบบให้กับฝ่ายผลิต
ติดตั้งระบบให้กับฝ่ายผลิตไ้้ด้ใช้งานจริง เมื่อ ฝ่ายผลิตตรวจสอบแล้วว่า
ระบบไม่มีข้อผิดพลาด
รวบรวมข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการใช้งานจริง กับรูปแบบของ
ข้อมูลที่หลากหลาย
แก้ไขโปรแกรม ให้ถูกต้องโดยอิงกับข้อมูลที่สรุปมาหลังจากที่มีการใช้งาน
จริง
4. พัฒนาระบบงานตามขั้นตอนที่ได้กําหนดเอาไว้
ปัญหาที่พบบ่อยเมื่อมีการประยุกต์ใช้ระบบคอมพิวเตอร์กับระบบการผลิต
ปัญหาที่เจอได้บ่อยเมื่อมีการประยุกต์ใช้ระบบคอมพิวเตอร์กับระบบการผลิต ได้แก่
1. ใช้งบประมาณเกินความจําเป็น อาจจะเป็นเพราะฝ่ายผลิตให้ข้อมูลฝ่ายคอมพิวเตอร์ได้ไม่คลอ
บคลุม ทําให้ฝ่ายคอมพิวเตอร์ประเมินค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานผิดพลาด
2. ฝ่ายคอมพิวเตอร์ประเมินค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานผิดพลาด อาจจะเ็ป็นเพราะขาด
ประสบการณ์
3. มีความขัดแย้งภายในทีมงาน อาจเนื่องจากขาดประสบการณ์การทํางานเป็นทีม ทําให้งาน
เสร็จล่าช้า
4. มีความเสียหายเกิดขึ้นกับระบบคอมพิวเตอร์หลังจากที่มีการติดตั้ง ให้ใช้งานแล้ว ทําให้ส่วน
งานผลิตต้องหยุดการผลิตชั่วคราว ถ้าไม่มีการวางแผนการแก่ไขปัญหานี้ที่ดีพอ
สิ่งหนึ่งที่อยากให้ท่าน ผู้ที่จะนําระบบคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้ ได้พึงคิดเอาไว้เสมอ คือ กําหนดวัตถุ
ประสงค์ของการนําระบบคอมพิวเตอร์มาใช้งาน กําหนดขอบเขตของระบบงานการผลิต กําหนด ขอบเขต
ของงานที่ต้องการนําระบบคอมพิวเตอร์ไปใช้ ให้ดีและรัดกุมที่สุดที่จะเป็นไปได้และควรจะใช้เวลาในการคิดเรื่องเหล่านี้ให้
เยอะสักนิด เพราะถ้าวางแผนไม่ดี แล้ว เหตุการณ์การใช้งบประมาณเกินความจําเป็นจะเกิดขึ้นได้ง่ายมาก สิ่ง
ที่สําคัญมากๆอีกอย่าง คือ ประสบการณ์ของทีมงาน จําเป็นจะต้องมีอย่างน้อย 1 คนที่มีความรู้พื้นฐานทั้ง
ระบบงานทางด้านการผลิต และทางด้านคอมพิวเตอร์
อ้างอิงรูปภาพ  https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiHRA40Fb8ly-vNpDytJKMt5odjaKtqBWW8iSPvEu9gKKGR8g0SfeBq2RCJvO0O0SUSZbEa67KbzEFijK55PMqAX14zlIf_yYz13Kghzo2zi77xwxjEsPU72efdPHVKQFfFWl5t0hz-ndn9/s400/mi.jpg
อ้างอิงเนื้อหา http://phalit-thai.tripod.com/about/2.html





อ้างอิงคริป http://www.youtube.com/watch?v=k-LxhRPBfv4

กลยุทธ์ธุรกิจ

10 กลยุทธ์ในการทำตลาดให้ธุรกิจของคุณในแบบที่ไม่ต้องลงทุนสูงมากนัก
บทความ โดย โจแอนนา แอล โครทซ์ (Joanna L. Krotz)
Joanna L. Krotz เป็นหนึ่งในทีมผู้เขียน Microsoft Small Business Kit และยังเป็นเจ้าของบริษัทให้บริการผลิตสื่อและเนื้อหาที่มีชื่อว่า Muse2Muse Productions ในนิวยอร์ค จึงมีความเชี่ยวชาญในด้านการจัดการและการตลาดสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก
เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กหลายคน คิดว่าการตลาดเหมือนกับการไปพบทันตแพทย์ ตรงที่จะต้องทำทุกๆ ครึ่งปี แต่ที่จริงแล้วการตลาดคือกิจกรรมที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องมากกว่าทำๆ หยุดๆ ซึ่งทำให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างยากลำบาก หากลูกค้ามีการรับรู้ในเชิงบวกเกี่ยวกับชื่อเสียงของบริษัทคุณเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว คุณก็สนทนาหรือเจรจาเพื่อปิดการขายกับลูกค้าของคุณได้ง่ายยิ่งขึ้น

การตลาดที่ต่อเนื่องไม่ใช่การติดคำโฆษณาสวยเก๋คู่กับป้ายสินค้าที่วางจำหน่าย แต่การตลาดคือการสื่อสารด้วยข้อความที่เหมาะสมกับคนที่เหมาะสมในช่วงเวลาที่เหมาะสมต่างหาก

การตลาดที่ทำได้ง่ายๆ ไม่ต้องลงทุนมากนั้นสามารถทำได้โดยใช้วิธีการต่อไปนี้

        1.ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าตัวเองเป็นคนพิเศษ – ทุกครั้งที่มีเราแสดงว่าเรายอมรับตัวตนของลูกค้า ลูกค้ามักจะตอบสนอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรู้สึกว่าจ่ายน้อยแต่ได้คุ้ม Denise McMillan เจ้าของธุรกิจจำหน่ายกระเป๋าพกพาแบบทำมือที่มีชื่อว่า Plush Creations (www.plushcreations.com) กล่าวว่า “แม้ธุรกิจจะดำเนินกิจการผ่านเว็บ แต่ก็สามารถให้บริการที่ดีแก่ลูกค้าได้” เธอมักจะแนบถุงกุหลาบแห้งกลิ่นหอมขนาดเล็กๆ ไปกับกระเป๋าใส่เครื่องประดับและกระเป๋าใส่ชุดชั้นในที่เธอจำหน่ายพร้อมเขียนการ์ดด้วยลายมือว่า “ขอบคุณ” ไปด้วยเสมอ เธอคิดว่า “แม้ถุงเล็กๆ และกระดาษการ์ดจะมีราคาและต้องลงทุน แต่มันก็เพิ่มคุณค่าพิเศษลงไปเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าซื้อแล้วได้รับการรับรู้ว่าตนเองคือคนพิเศษ”

        2.ออกแบบนามบัตรที่ลูกค้าดูแล้วรู้สึกอย่างเก็บ –คนส่วนใหญ่มักโยนนามบัตรทิ้งหลังจากได้รับจากประชุมเสร็จแล้วไม่กี่ชั่วโมง การสร้างนามบัตรที่ผู้รับรู้สึกอย่างเก็บเพราะมีประโยชน์น่าจะดีกว่า อย่างเช่น ทำสมุดฉีกที่มีหมายเลขติดต่อและคำโฆษณาธุรกิจไว้ทุกๆ หน้าแล้วออกแบบให้สวยงาม Elliott Black นักวางกลยุทธ์การตลาดจาก Northbrook รัฐ Illinois กล่าวว่า “สมุดฉีกที่เป็นนามบัตรไปด้วยในตัวนี้ เก็บไว้ใช้ได้นานอย่างน้อยก็ 30 วัน ช่วยให้ลูกค้าจำเราได้ดียิ่งขึ้น”

        3.หยุดให้บริการลูกค้าที่เขาซื้อของเราแน่ๆ อยู่แล้ว แต่ให้หันความสนใจไปที่ลูกค้าที่ยังไม่ยอมซื้อสินค้าของเราให้มากขึ้น – หากความคิดนี้ทำให้คุณกังขา ขอให้คิดไตร่ตรองดูอีกที เพราะคุณอาจตกหลุมพราง โดยมัวแต่เพิ่มยอดขายจากลูกค้ากลุ่มนี้ แต่กลับไม่เห็นผลกำไรให้งอกเงย หากคุณหยุดกิจกรรมการตลาดที่จะสื่อสารถึงลูกค้าเหล่านี้แล้ว คุณจะมีเวลาและทรัพยากรมากขึ้นไปกับลูกค้าที่จะที่ให้ธุรกิจเติบโต Michael King นักการตลาดจาก Atlanta กล่าวว่า “ร้อยละ 20 ของฐานลูกค้าในมือคุณคือกลุ่มที่สร้างยอดกำไรในแต่ละปีได้สูงถึงร้อยละ 150 ถึง 200 และร้อยละ 70 ของฐานลูกค้าคือกลุ่มที่ทำให้คุ้มทุน และอีกร้อยละ 10 คือกลุ่มที่สร้างกำไรร้อยละ 50 ถึง 100 ของยอดกำไรทั้งปี” ลองดูข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับศักยภาพในการเพิ่มผลกำไรในฐานลูกค้าของคุณอย่างละเอียดแล้วก็พุ่งเป้าให้บริการแบบ Premium Service ไปที่ลูกค้ากลุ่มนั้น พร้อมทั้งทำการตลาดอย่างเหมาะสมด้วย (Microsoft Outlook 2010 with Business Contact Manager สามารถวิเคราะห์ประวัติของลูกค้าคุณได้)


       4.พัฒนาระบบระเบียนไปรษณีย์แล้วส่งจดหมายอย่างทั่วถึง - ธุรกิจส่วนใหญ่นิยมใช้จดหมายข่าวอิเล็กทรอกนิกส์หรือ e-newsletter และคุณก็คงเคยส่งมาบ้างแล้ว จดหมายประเภทนี้มีความคุ้มค่าในการลงทุน แต่จริงๆ แล้วเพราะ กระแสการตลาดแบบ e-mail marketing กลายเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย คุณสามารถโดดเด่นขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วโดยการส่งอีเมลส่วนตัวแบบธรรมดาๆ ไปหาลูกค้าตามโอกาส แค่แน่ใจว่าจดหมายที่ส่งไปมีสิ่งที่ลูกค้าอยากอ่าน ไม่ว่าจะเป็นผลการวิเคราะห์งานอีเวนต์ล่าสุด, ข้อเสนอพิเศษหรือใบเสร็จรับเงินที่ถูกปรับแต่งให้เข้ากับรสนิยมของลูกค้าอย่างสวยงาม Leslie Ungar ผู้เชี่ยวชาญจาก Ohio กล่าวว่า “การส่งเมลแบบนี้ ต้องมีคุณค่าพอที่จะเปิดอ่าน จึงต้องสะท้อนคุณค่าที่คุณจะหยิบยื่นให้ลูกค้า จำไว้ว่า วิธีขายที่ดีที่สุดคือการเล่าเรื่อง กระบวนการสร้างจะง่าย หากสร้างแม่แบบจดหมายเอาไว้หรือเตรียมแผ่น label จ่าหน้าซองโดยใช้โปรแกรม Word ใน Office 2010 เอามาพิมพ์เตรียมไว้ล่วงหน้า ส่วนรายชื่อระเบียนก็สามารถเก็บได้อย่างเป็นระบบโดยใช้ Excel ได้เช่นกันเพราะสามารถถ่ายโอนข้อมูลเข้าไปในโปรแกรม Word ได้อย่างสบายๆ

        5.สร้างโปรไฟล์ที่ดีจากงาน Trade Show และงานประชุมใหญ่ๆ - คุณสามารถสร้างป้ายหรือโปสการ์ดที่มีข้อมูลติดต่อบริษัทของคุณพร้อมแทรกข่าวอัพเดทผลิตภัณฑ์หรือเว็บไซต์เล็กๆ ได้ จากโปรแกรม Publisher ได้เอง

        6.รวมธุรกิจกับความสนุกเข้าด้วยกัน ในรูปแบบของงานการกุศล - เป็นผู้นำงานอีเวนต์ ปาร์ตี้ หรืองานประชุมด้วยเหตุผลที่คุณสนใจเป็นพิเศษ และแสดงให้ทุกคนได้รู้ถึงทักษะความเป็นผู้นำแห่งวงการธุรกิจขนาดเล็ก (small business leadership) ของคุณ ทาง Kate Koziol ผู้เชี่ยวชาญด้านประชาสัมพันธ์จาก Chicago กล่าวว่า “ ฉันเป็นเจ้าภาพการแข่งเบสบอลโดยเชิญลูกค้าหลายร้อยคนเพื่อมาร่วมงาน Cubs game ที่สนาม Wrigley Field และเมื่อปีก่อน มีคนมา 300 คน และเราได้เงินรายได้มา 1 หมื่นเหรียญเพื่อช่วยเหลือเด็กๆ ในชนบท มีลูกค้าน้อยคนที่จะไม่ร่วมเล่นเกม ซึ่งนี่นับเป็นโอกาสในการสร้างสังคมที่ดียิ่ง มันทำให้ฉันได้พบปะลูกค้าปัจจุบันและสร้างความประทับใจให้คนที่คาดว่าจะเป็นลูกค้าในอนาคตด้วย”

       7.สร้างจุดหมายปลายทาง - ร้านหนังสือ Barnes & Noble เปิดให้บริการขายกาแฟไปด้วย ร้านจำหน่ายเครื่องเรือน Ikea ให้บริการรับเลี้ยงเด็กอ่อนและโรงอาหารด้วย ทำไมน่ะหรือ? เพื่อให้ลูกค้าได้เกิดประสบการณ์ที่ดีและอยู่กับร้านนานๆ แล้วเช้าวันอาทิตย์ที่ Barnes & Noble จะดูรื่นรมย์มากกว่างานช้อปปิ้งธรรมดา Jay Lipe ที่ปรึกษาด้านการตลาดสำหรับธุรกิจขนาดเล็กจาก Minneapolis แนะนำว่า ด้วยการโฆษณาแบบ pay-per-click advertising จะช่วยให้คุณดึงคนมางานได้อย่างมากในต้นทุนที่ถูกลง Lipe สร้างเว็บไซต์เกมที่ชื่อ Games by James (www.gamesbyjames.biz) เพื่อจำหน่ายเกมในตลาดค้าปลีก และสามารถดึงดูดลูกค้าเข้ามาได้มากผ่านโฆษณาแบบ pay-per-click เขากล่าววว่า “ผลลัพธ์เห็นได้ชั่วข้ามคืน ซึ่งปกติในโลกของการตลาดทั่วไปแล้ว มันน่าจะใช้เวลาเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนเลยทีเดียวเพื่อให้เกิด awareness แบบนี้ได้ แต่นี่เรากลับเห็นผลทันตาภายในชั่วข้ามคืนเท่านั้นเอง”

        8.ทำตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องโลกออนไลน์ - นี่คือวิธีการที่ทำได้เอง “ฟรีๆ” ในการนำธุรกิจสู่ความสำเร็จ ลองหาข้อมูลจากอีเมลที่คุณเคยได้รับหรือข้อมูลจากเว็บบอร์ดออนไลน์ที่มีเนื้อหาตรงกับธุรกิจของคุณ จากนั้นลองเข้าไปในกลุ่ม community ต่างๆ แล้วโพสคำแนะนำดีๆ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือตอบคำถามคาใจให้สมาชิกคนอื่นได้เข้าใจอย่างชัดเจนก็ได้ คุณอาจต้องคอยเข้าไปโพสหรือตอบบ่อยๆ สักระยะหนึ่งกว่าชื่อเสียงของคุณจะเป็นที่รู้จัก แต่รางวัลที่คุณจะได้รับนั้นคือคุณจะได้ลูกค้าและได้รับชื่อเสียงที่บอกต่อกันไปแบบปากต่อปาก Shel Horowitz ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดสำหรับธุรกิจขนาดเล็กจาก Northampton รัฐ Mass กล่าวว่า “การสนทนากันผ่านทาง e-mail discussion list คือแหล่งของข้อมูลในการหาลูกค้าของผมในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา”

       9.เกาะติดสื่อมวลชนท้องถิ่น – บทความที่เขียนโดยบรรณาธิการมักมีความน่าเชื่อถือมากกว่าสำหรับลูกค้าหากเทียบกับหน้าโฆษณาที่มีการซื้อขายกันอย่างที่เห็นๆ หากต้องการได้สื่อท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ หรือวิทยุ ได้เห็นคุณ คุณต้องมีเรื่องราวที่เหมาะกับเวลาสถานการณ์และเป็นเรื่องที่ใหม่ น่าสนใจ คุณจึงต้องมีนักสร้างเรื่องที่มีประสบการณ์เพื่อร่างเรื่องราว วางสื่อที่ต้องการจะออก และเขียน press release และส่งออกไปยังช่องทางต่างๆ คุณสามารถทำงานแบบนี้แบบระยะสั้นหรืออย่างต่อเนื่องก็ได้

        10.อย่าปล่อยให้ลูกค้าหลุดมือไปได้ง่ายๆ - พยายามที่จะดึงลูกค้ากลับมา ค่าใช้จ่ายในการดึงลูกค้ากลับมานั้นถูกกว่าการแสวงหาลูกค้าใหม่มากนัก หากคุณไม่ได้ยินเสียงจากลูกค้าสักพักใหญ่ๆ ให้ส่งอีเมลที่ปรับแต่งให้เข้ากับรสนิยมของลูกค้าเพื่อสอบถามลูกค้าว่าเป็นอย่างไรบ้าง สำหรับลูกค้าที่ได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดี โปรดโทรศัพท์แล้วโทรไปยอมรับสิ่งไม่ดีที่เกิดขึ้นว่าคุณได้รับทราบและถามว่าคุณสามารถทำอะไรเพื่อแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดได้บ้าง การมอบส่วนลด ก็อาจจะช่วยให้อะไรดีขึ้นได้ การใจดีต่อลูกค้าคือการตลาดที่ถูกที่สุดที่คุณสามารถทำได้

อ้างอิงรูปภาพ  http://www.positioningmag.com/vaf/pictures/877/87783n_120914-l.jpg
อ้างอิงเนื้อหา   http://www.microsoft.com/business/th-th/Content/Pages/article.aspx?cbcid=36



อ้างอิงคริป  http://www.youtube.com/watch?v=9y1rJw4LrbI

เทคโนโลยีเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์


   ระบบสารสนเทศในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HRIS)


ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

เนื่องจากปัจจุบันโลกเราได้กล่าวสู่ยุคแห่งสารสนเทศ ผู้บริหารองค์กรเริ่มตระหนักและให้ความสำคัญ กับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ในองค์กรมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสารสนเทศทางการตลาด สารสนเทศทางการบัญชี และสารสนเทศทางการบริหารงานบุคลากร เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานขององค์กร
ท่ามกลางสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การดำเนินการใด ๆ ขององค์กร จะต้องมีการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ต่างๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อให้องค์กรสามารถปรับตัวให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว อาจเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ๆ ตัวเรา ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ปัจจัยหลักๆ ได้แก่

ปัจจัยภายนอก
          ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง ด้านเทคโนโลยี ด้านสังคมและวัฒนธรรม ล้วนแล้วแต่มีผลต่อองค์กรเป็นอย่างมาก เช่น การขยายตัวของชุมชน การเปลี่ยนแปลงนโยบายบริหารประเทศของรัฐบาล การปรับเปลี่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร รวมถึงการเข้ามาของวัฒนธรรมต่างชาติ ส่งผลให้คนในสังคมหรือในองค์กรต่างๆ ต้องปรับตัวตามความเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในองค์กรธุรกิจ ดังนั้น หากองค์กรใดมีระบบสารสนเทศที่ถูกต้อง แม่นยำครบถ้วนและทันต่อเหตุการณ์ ก็จะสามารถตัดสินใจได้รวดเร็วและถูกต้องกว่า 

ปัจจัยภายใน
          นอกจากจะมีปัจจัยต่างๆ จากภายนอกองค์กร ที่เข้ามามีอิทธิพลต่อองค์กรแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ภายในองค์กรที่เราต้องคำนึงถึงด้วย เช่น ปัจจัยด้านบุคลากร (Human Resources) ปัจจัยด้านสารสนเทศ (Information Technology) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ (Management) ปัจจัยด้านบัญชีและการเงิน (Financial/Accounting) ปัจจัยด้านการตลาด (Marketing/Sales) และปัจจัยด้านการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์กร เพื่อนำมาปรับปรุงการทำงาน โดยเฉพาะในเรื่องของการจัดการทรัพยากรบุคคล ซึ่งองค์กรต้องยอมรับว่า การที่จะดำเนินงานต่างๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพเสียก่อน ดังนั้น ระบบสารสนเทศในการบริหารงานด้านบุคลากร จึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารไม่ควรจะละเลย และต้องพยายามส่งเสริมให้มีขึ้นในองค์กรของตน

ระบบสารสนเทศเพื่อการ บริหารทรัพยากรบุคคล
          ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรบุคคลโดยทั่วไป เป็นกระบวนการที่รวบรวม จัดเก็บ บำรุงรักษา และนำมาปรับแก้ไขอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ระบบสารสนเทศมีความถูกต้องสมบูรณ์ สามารถนำข้อมูลไปใช้งานด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

          แต่จากการที่การบริหารงานด้านทรัพยากรบุคคล มีการพัฒนาและปรับตัวให้ทันสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ภารกิจใหม่ที่นักบริหารด้านทรัพยากรบุคคล ควรให้ความสนใจยิ่งขึ้น เช่น การวิจัยและพัฒนาทางด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เป็นการหาแนวทางเพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับองค์กร ซึ่งก็ถือว่ามีความสำคัญ มากต่อการพัฒนาองค์กร อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สารสนเทศทางด้านทรัพยากรบุคคล สามารถนำไปใช้งานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราจึงควรคำนึงถึงองค์ประกอบทางด้านบุคลากร (Human Resources), ด้านสารสนเทศ (Information Technology) และ ด้านการบริหาร (Management) มาประกอบกัน แล้วสร้างเป็น

ระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคล (Human Resources Information System : HRIS)
          ข้อมูลบุคลากรเป็นสิ่งจำเป็น และมีความสำคัญต่อการบริหารงานในองค์กร ดังนั้น ในแต่ละองค์กรจึงหันมาให้ความสำคัญกับข้อมูลสารสนเทศทางด้านทรัพยากรบุคคล มากขึ้น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการบริหาร การวาง แผนกำลังคน การพัฒนาและฝึกอบรม ฯลฯ องค์กรจึงหาทางเพื่อปรับปรุงระบบการจัดการแบบใหม่ เข้ามาใช้แทนระบบเดิม ซึ่งเต็มไปด้วยแฟ้มข้อมูล กระดาษ เอกสารต่างๆ มากมาย อีกทั้งยังเปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บอีกด้วย ดังนั้น เราจึงควรศึกษาและทำความเข้าใจระบบงานก่อนปฏิบัติงานจริง เพราะระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์ นอกจากมีประโยชน์มากในการบริหารงานแล้ว ยังมีโทษมหันต์หากมีผู้แอบนำสารสนเทศไปใช้ใน ทางไม่ถูกต้อง ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายตามมา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสร้างระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลขึ้น เพื่อผลิตฐานข้อมูลไว้คอยสนับสนุนแก่องค์กร และสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งคือ การพัฒนาคุณภาพ ของบุคลากรในองค์กร 

โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการบริหารข้อมูลบุคลากร
          ซอฟต์แวร์บริหารงานบุคคลที่มีอยู่ในบ้านเรานั้น มีทั้งที่สร้างขึ้นเองภายในประเทศโดยบริษัทคนไทย เช่น PisWin, HRII, HR Enterprise เป็นต้น และบางโปรแกรมได้มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น PeopleSoft, Oracle, SAP เป็นต้น ทั้งนี้ โปรแกรมที่สร้างขึ้นเองโดยคนไทยนั้น จะมีข้อดีตรงที่เป็นระบบที่ตรงกับความต้องการมากกว่า เพราะได้มีการพัฒนาขึ้นภายใต้เงื่อนไขและสภาพแวดล้อม (Condition & Environment) ในประเทศ ที่ไม่เหมือนกับประเทศอื่น เช่น ในเรื่องของภาษี, การให้สวัสดิการ, ข้อกำหนดทางกฎหมาย เป็นต้น ส่วนโปรแกรมที่นำเข้าจากต่างประเทศ จะเป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการทั่วไปของโลก ซึ่งถ้ามีการนำมาใช้จะต้องนำมาปรับปรุง (Modification) ในบางโมดูล (Module) หรือในบางโมดูลอาจจะใช้ไม่ได้เลย ทำให้ต้องหาโมดูลดังกล่าวจากโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นภายในประเทศ มาประยุกต์ใช้รวมอยู่ด้วย

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศทางการบริหารงานบุคคล

          1. ระบบงานวางแผนกำลังคน (Man Power Planning) แสดงให้เห็นถึงความเคลื่อนไหวของอัตรากำลัง, อัตราการเข้า - ออกของบุคลากร
          2. ระบบงานทะเบียนประวัติ (Central Database) ช่วยในการเก็บข้อมูลด้านประวัติส่วนตัวของบุคลากร ประวัติการทำงาน ฯลฯ ซึ่งระบบอื่นๆ สามารถดึงข้อมูลไปใช้ร่วมกันได้
          3. ระบบการตรวจสอบเวลา (Time Attendance) ระบบจะดึงเวลาจากเครื่องรูดบัตร มาเปรียบเทียบกับตารางเวลาทำงานปกติของพนักงาน แล้วรายงานความผิดพลาดที่เกิดขึ้นออกมา เช่น การขาดงาน, การมาสาย, การลา, หรือการทำงานล่วงเวลา เป็นต้น
          4. ระบบงานด้านการคำนวณเงินเดือน (Payroll) ช่วยในการบริหารเงินเดือน ค่าตอบแทน และภาษี โดยที่ระบบจะทำการคำนวณอัตโนมัติ
          5. ระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Evaluation) ช่วยในการกำหนดมาตรฐานในการประเมินผล ช่วยในการบันทึก คำนวณผลลัพธ์ และสรุปการประเมินผลของบุคลากร ในเรื่องการขึ้นเงินเดือนและการเลื่อนขั้นตำแหน่ง
          6. ระบบงานพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร (Training and Development) เป็นระบบที่ ช่วยในการวางแผนการพัฒนาบุคลากร
          7. ระบบงานสวัสดิการต่างๆ (Welfare) ช่วยในการเก็บบันทึกและบริหารงาน ข้อมูล เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการต่างๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล, เงินกู้, การเบิกวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น
          8. ระบบการสรรหาบุคลากร (Recruitment) เป็นระบบที่บันทึกข้อมูลการสมัครงาน สามารถสร้างแบบฟอร์มการทดสอบ, แบบฟอร์มสำหรับการสัมภาษณ์งานได้ และเมื่อพนักงานผ่านการคัดเลือกแล้ว ก็สามารถโอนข้อมูลเข้าสู่ระบบรวมได้โดยอัตโนมัติ

โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
          การบริหารทรัพยากรบุคคล ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในองค์กร เพราะตระหนักถึงความจำเป็นในการคัดเลือกและการรักษาบุคลากรขององค์กร ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อองค์กร เพื่อความได้เปรียบในเชิงแข่งขันกับคู่แข่งในธุรกิจเดียวกัน 

          องค์กรแต่ละแห่งได้พยายามที่จะสร้างระบบ HRIS ของตนเองขึ้น โดยมุ่งเพื่อรองรับการทำงานประจำขององค์กร และเป็นระบบที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก แต่การพัฒนาเองดังกล่าว ทำให้ขาดมาตรฐานในการพัฒนา ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาว โดยเฉพาะเมื่อบุคลากรที่เป็นผู้พัฒนาระบบ พ้นสภาพออกไปจากการเป็นพนักงานขององค์กร ซึ่งบางครั้ง องค์กรจำเป็นต้องทิ้งระบบเดิม เพื่อทำการพัฒนาใหม่ ดังนั้นอีกทางเลือกหนึ่งขององค์กรก็คือ การหาโปรแกรมสำเร็จรูปจากภายนอก

          อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงโปรแกรมสำเร็จรูปโดยทั่วไป เปรียบเทียบกับแนวคิดของระบบ HRIS ที่ดีจะพบว่า ส่วนใหญ่แล้วยังเป็นระบบที่ยังไม่สมบูรณ์ มีเพียงบางโปรแกรมเท่านั้นที่มีระบบครบถ้วน ซึ่งแน่นอนว่า ย่อมมีราคาแพง โปรแกรมสำเร็จรูปโดยทั่วไป มักจะเน้นระบบงานด้านทะเบียนประวัติของบุคลากรโดยรวม ระบบการตรวจสอบเวลาทำงาน และระบบการคำนวณเงินเดือนเท่านั้น ซึ่งเป็นระบบที่องค์กรโดยทั่วไปจำเป็นต้องใช้ แต่ระบบในด้านงานพัฒนาบุคลากร, ด้านการจัดสวัสดิการ, ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ฯลฯ ยังมีรายละเอียดไม่มากนัก โดยเฉพาะระบบที่มีราคาถูกๆ ผู้บริหารจึงขาดความชัดเจนของข้อมูลที่เพียงพอ ในการที่จะนำไปสรุปวิเคราะห์เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบ ในการวางแผนเพื่อการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลในองค์กรได้อย่างแท้จริง

ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการเลือกโปรแกรมสำเร็จรูป 

          ความสามารถในการ รองรับงานประจำของ HR
          โปรแกรมสำเร็จรูป ที่นำมาใช้เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้น โดยทั่วไปแล้ว จะมีระบบที่สนับสนุนงานประจำของ HR อยู่แล้ว ซึ่งจะแยกเป็นแต่ละโมดูล ให้องค์กรสามารถเลือกได้ตามความจำเป็นขององค์กร แต่สิ่งที่พึงพิจารณาก็คือ ความสามารถทำงานประสานกันระหว่างแต่ละโมดูล และสามารถลดเวลาของการทำงานแบบเดิมได้ 

          ระบบสนับสนุนการ ตัดสินใจของผู้บริหาร
          โปรแกรมสำเร็จรูปโดยทั่วไป ที่มีราคาถูก จะไม่มีส่วนที่สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร (Executive Information System) ดังนั้น การที่ผู้บริหารต้องการดูข้อมูลเกี่ยวกับ อัตรากำลังคน, อัตราการ Turn Over, ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร, แผนการพัฒนาบุคลากร, การกำหนด Career Path ฯลฯ แล้วระบบสามารถแสดงผลออกมาได้ในทันที อาจจะอยู่ในรูปแบบของรายงาน หรือกราฟ ก็จะทำให้เกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การที่มีระบบ Work Flow ก็ยิ่งทำให้กระบวนการสื่อสารภายในองค์กร มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น 

          ด้านเทคนิคและการบริการ
          โปรแกรมสำเร็จรูปที่ดี จะต้องช่วยลดเวลาในการทำงานแบบเดิมขององค์กรลงได้ ทั้งยังลดจำนวนเอกสารต่างๆ ลงได้ด้วยเช่นกัน ข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน ระบบควรจัดเตรียมไว้ให้ เช่น ทะเบียนจังหวัด, ทะเบียนการวุฒิการศึกษา, ตารางภาษี, ฯลฯ เพื่อผู้ใช้จะได้ไม่เสียเวลากรอก นอกจากนี้ ข้อมูลด้านตัวเลขก็ควรมีการคำนวณอัตโนมัติ เช่น อายุ, อายุงาน โดยระบบควรจะต้องคำนวณให้จนถึง ณ เวลาปัจจุบัน

          นอกจากนี้ ควรที่จะมีโปรแกรมเสริมอื่นๆ เช่น โปรแกรมการสร้างผังองค์กร, โปรแกรมการพิมพ์บัตรพนักงาน, โปรแกรมการออกหนังสือเวียน หรือเอกสารรับรองต่างๆ และต้องมีความยืดหยุ่นต่อเงื่อนไขและนโยบายขององค์กร เช่น เงื่อนไขในการจ่ายค่าตอบแทน, เงื่อนไขในการจ่ายสวัสดิการ ซึ่งในส่วนนี้ โปรแกรมที่ดีจะใช้วิธีการเปิดให้ผู้ใช้กำหนดเงื่อนไขเองได้ ในลักษณะของการเขียนสูตร โดยบริษัทผู้พัฒนาระบบจะต้องมีทีมงานที่คอยให้คำปรึกษาเมื่อจำเป็น

          ประการที่สำคัญที่สุดคือ เรื่องของระบบความปลอดภัยในการเข้าถึงฐานข้อมูล ซึ่งถือเป็นความลับขององค์กร ระบบควรมีการป้องกันข้อมูลโดยการเข้ารหัส และกำหนดระดับการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ เพื่อป้องกันผู้ไม่ประสงค์ดีแอบเข้าไปใช้ข้อมูล นอกจากนี้ยังรวมถึงการสำรองข้อมูลในกรณีเมื่อเกิดความเสียหายกับระบบ 

           ด้าน HR Information Center
          สิ่งหนึ่งที่ระบบ HRIS ควรจะมีเพิ่มเติม โดยเฉพาะในองค์กรที่มีระบบเครือข่ายภายใน (Network) เพื่อใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร และให้ข้อมูลกับบุคลากรภายในองค์กร เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กรกับบุคลากรในองค์กร โดยที่บุคลากรสามารถรับทราบถึงข้อมูลต่างๆ ที่ควรรู้ได้ตลอดเวลา ในลักษณะของการบริการตนเอง หรือ Employee Service Center (ESC) เช่น

          1. ระเบียบและข้อบังคับใน การปฏิบัติงาน
          2. ข่าวสารใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
          3. ปฏิทินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร
          4. ตารางวันหยุด - วันทำงานขององค์กร
          5. ขั้นตอนการปฏิบัติใน องค์กร เช่น การลาประเภทต่างๆ, ระเบียบเกี่ยวกับการใช้สวัสดิการ, ฯลฯ เป็นต้น
          6. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง, การติดต่อกับหน่วยงานราชการ, ความรู้ด้านภาษีเงินได้, สิทธิเกี่ยวกับประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน, ฯลฯ เป็นต้น

บทสรุป
          ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่ผู้บริหารควรพิจารณาก่อนตัดสินใจเลือกระบบ HRIS คือต้องแน่ใจว่าระบบดังกล่าว สามารถรองรับการทำงานที่องค์กรต้องการได้ เพราะเวลาที่มีการนำเสนอ ผู้พัฒนาระบบมักจะบอกว่า ระบบของตนทำอย่างนั้นได้ ทำอย่างนี้ได้ แต่มักจะไม่บอกว่า "ทำอย่างไร?" เมื่อติดตั้งระบบแล้ว ผู้ใข้จึงจะพบปัญหา ซึ่งก็อาจจะแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว

          จะเห็นได้ว่าสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น เป็นการนำระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับองค์กร และกับบุคลากรขององค์กร เพระเราถือว่า ทรัพยากรบุคคลเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ที่จะนำพาองค์กรให้ก้าวหน้า อย่างไรก็ตาม ถึงแม้องค์กรจะมีระบบที่ดีเพียงใดก็ตาม แต่ถ้าบุคลากรภายในองค์กรไม่มีคุณภาพ และการขาดการสนับสนุนจากฝ่ายบริหารแล้ว ระบบที่ดี ก็ไม่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้


อ้างอิงเนื้อหา  http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/17622/



ที่มาของคริป  http://www.youtube.com/watch?v=05Kxi4GhBy4

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

        การจัดการทรัพยากรมนุษย์ หรือ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ การใช้กลยุทธ์เชิงรุกที่มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดในองค์กร นั่นคือบุคคลที่ทำงานทั้งกรณีที่ทำงานรวมกันและกรณีที่ทำงานคนเดียวเพื่อบรรลุเป้าหมายในการประกอบธุรกิจใดๆ [1กลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์นั้นจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปตามเวลาและสถานการณ์ จึงต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้ในธุรกิจหลากหลายประเภทและขนาดจึงมีแผนกหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์โดยเฉพาะ ซึ่งขนาดของแผนกหรือหน่วยงานนั้น จะมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจเองรวมถึงความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ด้วยว่าสำคัญยิ่งยวดมากน้อยเพียงใด การจัดการทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นทั้งทฤษฎีในเชิงวิชาการและแบบปฏิบัติในธุรกิจที่ศึกษาวิธีการบริหารแรงงานทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
        แนวคิด

        ปัจจุบันการบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีสำคัญเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ต่อองค์กรต่างๆ ทั้งในภาคธุรกิจเอกชน หรือแม้กระทั่งในหน่วยงานภาคราชการเอง เพราะไม่ว่าองค์กรจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปในทางใด ย่อมต้องเกี่ยวข้องกับตัวบุคคลทั้งสิ้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ตัวชี้วัดความสำเร็จอย่างยั่งยืนขององค์กรนั้นอยู่ที่ "คุณภาพของคน" ในองค์กรนั้นๆ
ก่อนที่องค์กรต่างๆ จะเริ่มเห็นความสำคัญของการจัดการทรัพยากรมนุษย์นั้น บุคคลเคยถูกมองเห็นว่าเป็นเพียงแค่ปัจจัยการผลิต หรือให้ความสำคัญเป็นแค่แรงงานหรือกำลังคน แต่ในปัจจุบัน บุคคลได้รับการนิยามใหม่พัฒนาความสำคัญเป็น "ทรัพยากรมนุษย์" ส่วนแผนกหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับบุคคลในองค์กรก็กำลังเปลี่ยนบทบาทจาก "งานบริหารบุคคลและธุรการ" ไปเป็น "การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์" ซึ่งเปลี่ยนจากการจัดการเฉพาะหน้า ไปเป็นการใช้กลยุทธ์เข้ารุกอย่างเต็มตัวและต่อเนื่องไปในระยะยาว
ปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ แพร่หลายอย่างมากใน สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ภาคปฏิบัติ (HR Practice) อย่างไรก็ตามเรื่องราวต่างๆ เหล่านี้ย่อมมีฐานความคิดทางวิชาการเกื้อหนุนอยู่เบื้องหลัง การจะเข้าใจเรื่องเหล่านี้อย่างถ่องแท้ จึงจำเป็นต้องเข้าใจหลักทางความคิดด้วย จากการทบทวนเอกสารทางวิชาที่เกี่ยวข้อง กับการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในเบื้องต้น พบว่ามีการพัฒนาตัวแบบ เกี่ยวกับเรื่องนี้จากนักคิดนักวิจัยใน 2 กลุ่มประเทศสำคัญ คือ กลุ่มนักคิดในประเทศสหรัฐอเมริกา และกลุ่มนักคิดในสหราชอาณาจักร โดยสามารถจำแนกกลุ่มทางความคิดได้ดังนี้

        กลุ่มนักคิดในสหรัฐอเมริกา
        สำหรับกลุ่มนี้มีตัวแบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญจาก 2 สำนักคิด คือ
ตัวแบบการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์กลุ่มฮาร์วาร์ด (The Harvard model) หรือเรียกว่ากลุ่มแนวคิดแบบ "มนุษย์นิยมเชิงพัฒนาการ" (Developmental humanism) เป็นแนวคิดกระแสหลักที่ทรงอิทธิพลและแพร่หลายที่สุด มีรากฐานทางความคิดมาจากสำนักคิด "มนุษยสัมพันธ์" ซึ่งมีจุดเน้นทางความคิดอยู่ที่เรื่องของการสื่อสารในองค์การ การสร้างทีมเวิร์ก และการใช้ความสามารถของแต่ละบุคคล ให้เกิดอัตถประโยชน์สูงสุด กล่าวโดยสรุปสำหรับแนวคิดของสำนักนี้แล้ว การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์จะให้ความสำคัญกับเรื่องของการสร้างสัมพันธภาพของคนในองค์กร เพราะการที่จะทำให้องค์กรมีผลประกอบการที่ดีขึ้น องค์กรจะต้องสามารถตอบสนองความต้องการ ของบุคลากรในองค์กรให้เหมาะสม และเมื่อบุคลากรได้รับการตอบสนองที่ดี ก็จะเกิดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทำให้องค์การเกิดภาวะอยู่ดีมีสุขทางสังคมขึ้นภายในองค์การ อันจะนำไปสู่คุณภาพและปริมาณงานที่ดีขึ้น
ตัวแบบการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์สำนักมิชิแกน (The Michigan School) หรือเรียกอีกนามหนึ่งว่าเป็นแนวคิดแบบ "บริหารจัดการนิยม" (Managerialism) กล่าวคือ เป็นกลุ่มที่เน้นเรื่องของ การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ ที่มองการจัดการทรัพยากรมนุษย์ จากมุมมองของฝ่ายจัดการ ธรรมชาติของฝ่ายจัดการคือ การให้ความสำคัญอันดับแรกที่ผลประโยชน์ตอบแทนที่องค์กรจะได้รับ โดยที่เรื่องของคน และการบริหารจัดการคนเป็นเครื่องมือ ในการที่จะทำให้บรรลุสู่เป้าหมายเช่นนั้นขององค์การ ดังนั้นจึงมีผู้เรียกแนวคิดการบริหารจัดการ ทรัพยากรมนุษย์ของสำนักคิดนี้ว่า เป็นพวก "อัตถประโยชน์-กลไกนิยม" (Utilitarian-instrumentalism) คือมองผลประโยชน์หรือผลประกอบการขององค์กรเป็นหลัก โดยมีการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์เป็นกลไกสำคัญ ในการขับเคลื่อนองค์กรให้ไปสู่ผลประกอบการที่เป็นเลิศ
     
         กลุ่มนักคิดในสหราชอาณาจักร
         สำหรับแวดวงวิชาการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสหราชอาณาจักรก็คล้ายๆ กับสำนักคิดของสหรัฐอเมริกา คือ มีการนำเสนอแนวคิดของ 2 กลุ่มความคิดที่มีจุดย้ำเน้นที่แตกต่างกันระหว่าง "กลุ่มอ่อน" กับ "กลุ่มแข็ง" กล่าวคือ
สำหรับกลุ่มที่มีมุมมองแบบอ่อน (soft) คือ กลุ่มนักคิดที่ทุ่มน้ำหนักความสำคัญไปที่ คนมากกว่าการบริหารจัดการ โดยเชื่อว่าบุคลากรทุกคนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าอยู่ในตนเอง ดังนั้นแนวทางของกลุ่มความคิดนี้ จึงมองการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ว่า จะเป็นวิธีการหนึ่งที่จะต้องช่วยปลดปล่อยพลังศักยภาพทั้งมวลของทรัพยากรมนุษย์ออกมา การจัดการทรัพยากรมนุษย์แนวนี้ จึงเน้นในเรื่องของการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกัน การหาแนวทางที่จะสร้างความรู้สึกถึงการ มีพันธกิจผูกพัน (commitment) เกี่ยวข้อง (involvement) และการมีส่วนร่วม (participation) ให้เกิดขึ้นในหมู่มวลพนักงาน
สำหรับกลุ่มที่มีมุมมองแบบแข็ง (hard) ก็คือ กลุ่มนักคิดที่ทุ่มน้ำหนักความสำคัญไปที่เรื่องของ การบริหารจัดการมากกว่าเรื่องของคน ดังนั้นแนวทางของกลุ่มความคิดนี้ จึงมองการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ว่า เป็นภาระงานด้านหนึ่งที่องค์กรจะสามารถเพิ่มพูนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจให้ได้มากที่สุดจากการใช้ทรัพยากรบุคคลให้เกิดประโยชน์สูงสุด แนวทางที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้การบริหารจัดการองค์การให้เกิดประสิทธิภาพก็คือ ต้องมีการบูรณาการ (integrate) เรื่องของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์เข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจขององค์กร
      
  มิติของการจัดการทรัพยากรมนุษย์
การจัดการทรัพยากรมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม "อ่อน" ที่ใช้ปรัชญาแบบ "มนุษย์นิยมเชิงพัฒนา" หรือกลุ่ม "แข็ง" ที่มีปรัชญาแบบ "บริหารจัดการนิยม" มีผู้สรุปแนวโน้มของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ไว้ แม้ในทางความคิดจะเป็นแนวคิดที่ต่างกลุ่มต่างสำนัก แต่ในที่สุดแล้วในทางปฏิบัติทั้ง 2 แนวคิดนี้จะต้องถูกบริหารจัดการหรือบูรณาการเข้าด้วยกัน โดยมี 4 มิติมุมมองที่จะช่วยยึดโยงกับการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์มากยิ่งขึ้น ได้แก่
การกำหนดนโยบายด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์กรจะต้องบูรณาการอย่างเป็นระบบมากขึ้น ทั้งในแง่ของการบูรณาการกันเองของงานย่อยด้านการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลภายในองค์กร และการบูรณาการนโยบายด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลเข้ากับแผนนโยบายและยุทธศาสตร์ขององค์กร
ความรับผิดชอบในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์การจะไม่ได้อยู่กับผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคลอีกต่อไป แต่จะถูกกำหนดให้ เป็นเรื่องที่ผู้บริหารสายงานด้านต่างๆ จะต้องรับผิดชอบ
เรื่องของแรงงานสัมพันธ์ ที่เคยเป็นการเผชิญหน้าระหว่างผู้บริหารกับสหภาพแรงงาน จะเปลี่ยนไปเป็นเรื่องพนักงานสัมพันธ์ ทำให้แนวคิดการบริหารจัดการคนในองค์การเปลี่ยนจากแบบ "กลุ่มนิยม" (collectivism) ไปเป็น "ปัจเจกนิยม" (individualism)
แนวคิดเรื่องของการสร้างความมีพันธกิจผูกพัน การทำให้พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร การคิดสร้างสรรค์และเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ทำให้ผู้บริหารจะต้องปรับเปลี่ยนไปสู่บทบาทผู้นำในรูปแบบใหม่ๆ เช่น เป็นผู้เอื้ออำนวย เพิ่มบทบาทอำนาจ และ สร้างขีดความสามารถให้กับบุคลากร

        ความสำคัญ

        ในแง่จุดประสงค์ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์นั้นมีประเด็นที่น่าสนใจว่า การที่จะเข้าใจในจุดประสงค์ของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้ จะต้องเข้าใจถึงเป้าประสงค์ขององค์กรเสียก่อน หากกล่าวในเชิงปรัชญาก็อาจกล่าวได้ว่าการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ไม่ได้เป็นสิ่งที่ "สัมบูรณ์" (absolute) ในตัวมันเอง แต่ทว่าเป็นสิ่งที่จะต้อง "สัมพัทธ์" (relative) ไปกับปัจจัยควบคุมนั่นคือ นโยบายการบริหารจัดการองค์กร กล่าวง่ายๆ ก็คือ เป้าประสงค์ขององค์กรจะเป็นตัวกำหนดเป้าประสงค์ของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์
        ในทางธุรกิจองค์กรเอกชนแบบจารีตดั้งเดิมมักจะมีเป้าหมายใหญ่ๆ สำคัญ 2 ประการ คือ
        ประการที่ 1: เป้าหมายของการที่จะต้องสร้างความมั่นใจว่าองค์กรจะอยู่รอดได้พร้อมไปกับความสามารถที่จะมีกำไรในการประกอบธุรกิจได้อย่างเพียงพอ ซึ่งจะเกี่ยวโยงไปถึงบรรดาผู้ถือหุ้น หรือหุ้นส่วนทางธุรกิจที่จะรักษาความเป็นหุ้นส่วนไว้หรือไม่
        ประการที่ 2: องค์กรเอกชนอาจจะต้องแสวงหารูปแบบของการมีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน เพื่อที่จะทำให้องค์กรอยู่รอดและมีกำไรที่ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในโลกยุคสมัยใหม่ที่มนุษย์ และสังคมได้ผ่านวิวัฒนาการและการพัฒนาทางความคิดและวิถีการดำรงชีวิตมาถึงจุดหนึ่ง ทำให้ยังมีสิ่งที่องค์กรพึงต้องพิจารณาให้ความสำคัญเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเศรษฐกิจสังคมยุคปัจจุบัน ที่เกิดพลวัตผลักดันสังคมให้ก้าวสู่การเป็นระบบเศรษฐกิจสังคมบนฐานความรู้
        ประการที่ 3: การประกอบธุรกิจนั้นมิใช่จะมุ่งมองแต่เรื่องผลกำไร และความอยู่รอดทางธุรกิจ ตามแนวคิดแบบจารีตดั้งเดิมได้อีกต่อไป สำหรับกระแสนิยมในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะเรียกร้องให้เกิดแนวคิดที่ว่า การดำรงอยู่ขององค์กรก็จะต้องให้ความใส่ใจกับผลกระทบที่ตนเองจะก่อให้เกิดขึ้นกับสังคมโดยรวมด้วย ดังนั้นองค์กรธุรกิจเอกชนจะต้องมีเป้าหมายเรื่องความชอบธรรมทางสังคมขององค์กรด้วย
        เมื่อองค์กรธุรกิจเอกชนมีเป้าประสงค์ 3 ประการข้างต้น ได้แก่ การอยู่รอดด้วยผลกำไรที่เพียงพอ การมีขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน และการมีความชอบธรรมทางสังคม เป้าประสงค์เหล่านี้ย่อมส่งผลต่อเป้าประสงค์ของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งอาจจะสามารถแปลงเป้าประสงค์ใหญ่ระดับองค์กรมาสู่เป้าประสงค์ย่อยในระดับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะสามารถช่วยให้เราเห็นภาพเป้าประสงค์ของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้ดังนี้
        ในแง่ของการที่จะต้องสร้างความมั่นใจว่าองค์กรจะสามารถอยู่รอดได้พร้อมไปกับความสามารถที่จะมีกำไรในการประกอบธุรกิจได้อย่างเพียงพอนั้น การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์จะต้องกำหนดเป้าประสงค์ในแง่ของการสร้างผลิตภาพด้านแรงงานให้เกิดขึ้นภายในองค์กร นั่นย่อมหมายถึงการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์จะต้องทำให้องค์กรเกิดความคุ้มค่าในการลงทุนที่เกี่ยวกับทรัพยากรบุคคลในองค์กร
        ในแง่ของการที่องค์กรประสงค์ที่จะมีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ก็คงจะต้องกำหนดเป้าประสงค์ในแง่ของการที่จะทำให้องค์กรพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการทำให้องค์กรมีความยืดหยุ่นพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันอย่างยั่งยืนจึงเป็นเป้าประสงค์ที่สำคัญอีกประการของงานด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์
        ในแง่ของการที่องค์กรประสงค์ที่จะมีความชอบธรรมทางสังคม ก็ถือเป็นภาระหน้าที่สำคัญของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่จะต้องมีเป้าหมายที่มุ่งเน้นการสร้างความรู้สึกให้องค์กรให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งความรับผิดชอบต่อบุคลากรภายในองค์กร และผลกระทบจากการบริหารทรัพยากรบุคคลของบริษัท ที่จะไปมีผลต่อสังคมภายนอก ซึ่งต่อมาได้ขยายนิยามความรับผิดชอบ ออกไปสู่ความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ลูกค้า และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มต่างๆ
อ้างอิงรูปภาพ
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgIbRcvKZuBl_l6IrwatEf_etJ7icD4jjaKpbWB3rzK1iSQzia6nUoOlcV8TyhMZ2YaRtOYHPsKTlxZjuLm0rYsiEc1YGdR914ZCubPwbdZrBTzfk-BblxUmntgoCaduXXIvpnlGESL6fBC/s200/img-courses-hrm.jpg
อ้างอิงเนื้อหา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C





ที่มาของคริป http://www.youtube.com/watch?v=oyb2QvMUb9w

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

คำศัพท์และความหมาย ที่เกี่ยวข้อง "ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจ"

1. แบบทดสอบ (Test) หมายถึง ชุดของข้อคำถาม (Item) ที่ใช้วัดกลุ่มตัวอย่างพฤติกรรมเกี่ยวกับความสามมารถทางสมอง หรือ ความรู้สึกนึกคิดทางจิตใจ หรือทักษะการดำเนินงานภายใต้สถานการณ์ที่เป็นมาตรฐานและมีการกำหนดหลักฐานการให้คะแนนที่ชัดเจน

2. การทดสอบ (Testing) หมายถึง กระบวนการที่ใช้แบบทดสอบสำหรับกำหนดหรือบรรยายคุณลักษณะหคือคุณภาพเฉพาะอย่างของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเพื่อให้ได้สารสนเทศในการตัดสินใจ

3. การวัดผล (Measurement) หมายถึง กระบวนการกำหนดตัวเลขให้แก่สิ่งต่าง ๆ ตามกฎเกณฑ์ การวัดผลจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วนได้แก่ จุดมุ่งหมายของการวัด เครื่องมือที่ใช้วัด เช่น แบบทดสอบ แบบสอบถาม เป็นต้น และการแปลผลการวัดเพื่อนำไปใช้

4. การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง กระบวนการตัดสินคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ตามมาตรฐาน โดยทั่วไปต้องอาศัยข้อมูลจากการวัดที่เป็นปรนัย การประเมินประกอบด้วย 3 องค์ประกอบที่สำคัญได้แก่ ข้อมูลจากการวัด การตีความหมาย และการตัดสินคุณค่าตามเกณฑ์หรือมาตรฐาน

5.Business Intelligence: การรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านตลาด ข้อมูลลูกค้า และ คู่แข่งขัน

6.E-Commerce: เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เกิดการสั่งซื้อ การขาย การโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ต

7.Customer Relationship Management: การบริหารจัดการ การบริการ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจกับทั้งสินค้า บริการ และ บริษัท ระบบ CRM        จะใช้ไอทีช่วยดำเนินงาน และ จัดเตรียมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการบริการลูกค้า

8.Supply Chain Management: การประสาน ห่วงโซ่ทางธุรกิจ ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ ผู้ผลิต ผู้จัดส่ง ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก จนถึงมือผู้บริโภค

9.Enterprise Resource Planning: กระบวนการของสำนักงานส่วนหลัง และ การผลิต เช่น การรับใบสั่งซื้อการจัดซื้อ การจัดการใบส่งของ การจัดสินค้าคงคลัง        แผนและการจัดการการผลิต- ระบบ ERP จะช่วยให้ประบวนการดังกล่าวมีประสิทธิภาพและลดต้นทุน

 10.  E-Learning   สำหรับความหมายโดยทั่วไป คำว่า E-Learning จะครอบคลุมความหมายที่ กว้างมาก กล่าวคือ จะหมายถึง การเรียนในลักษณะใดก็ได้ ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

 11. WBI (Web base Instruction ๗คือ การสอนโดยใช้เว็บเป็นฐาน  การเรียนการสอนผ่านเครือข่าย ( Web base Instruction ) หมายถึง การผนวกคุณสมบัติไฮเปอร์มีเดียเข้ากับคุณสมบัติของเครือข่าย เวิล์ด ไวด์ เว็บ เพื่อเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนในมิติที่ไม่มีขอบเขตจำกัดด้วยระยะทางและเวลาที่แตกต่างกันของผู้เรียน

12. Video on Demand (VOD) คือ ระบบการแพร่ภาพและเสียงวีดิทัศน์จาก คลังข้อมูลวีดิทัศน์ (Video Server) สู่ผู้ชมที่อยู่ในเครือข่ายสื่อสาร ผ่านระบบจัดการข้อมูลวีดิทัศน์แบบทยอยส่งเรื่อย ๆ หรือวีดิทัศน์แบบสายธาร (Streaming)

 13. Videoconference)คือ การนำเทคโนโลยีสาขาต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ กล้องโทรทัศน์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสาน เป็นการประชุมที่ผู้เข้าร่วมประชุมอยู่กันคนละสถานที่ ไม่จำกัดระยะทาง สามารถประชุมร่วมกันและมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้

 14. Podcast หรือ Podcasting คือ ข้อมูลมัลติมีเดียประเภทเสียงที่ถูกส่งขึ้นไปเก็บบนเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดมาฟังได้ทางอินเทอร์เน็ต โดยมีทั้งที่เสียเงินและฟรี และหากเราลงทะเบียนเป็นสมาชิกของ Podcast นั้นๆ ระบบจะทำการดึงข้อมูลเหล่านั้นโดยอัตโนมัติ เมื่อมีการอัพโหลด Podcast ใหม่ๆ ผ่าน RSS จากที่เก็บไฟล์นั้นโดยตรง

 15.  WebBoard คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในลักษณะเป็น กระดานสนทนา เป็นกระดานแจ้งข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน โดยใช้รูปแบบการแสดงผล HTML

16. Wiki   คือสารานุกรมเสรีหลายภาษาบนอินเทอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถอ่านและปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหา ซึ่งทำให้วิกิพีเดียกลายเป็นสารานุกรมที่ได้รับการแก้ไข รวบรวมและดูแลรักษาจากอาสาสมัครหลายแสนคนทั่วโลกผ่านซอฟต์แวร์ชื่อมีเดียวิก

17. E-mail คือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการส่งข้อความจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง มีระบบการกำหนดแอดเดรส เช่น บนอินเทอร์เน็ต มีแอดเดรสเป็นชื่อโฮสต์คอมพิวเตอร์ โดยใช้ระบบชื่อโดเมน

18. DATA  หมายถึง  ข้อมูล ทุกสิ่งที่นำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์

19. DATABASE หมายถึง ฐานข้อมูล ที่รวมของข้อมูลที่มีความ
สัมพันธ์กัน และจัดเป็นหมวดหมู่เพื่อให้ค้นคืนได้ง่าย


20.  DIGITAL หมายถึง  ดิจิตอล, การแสดงข้อมูลในรูปของตัวเลข
อ้างอิงเนื้อหา  http://www.learners.in.th/blogs/posts/530241

ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information Systems)

ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information Systems :EIS

            การที่นำระบบคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ในการดำเนินงานทางธุรกิจ การจัดการระบบสารสนเทศได้รับการยอมรับว่ามีความสำคัญต่อความสำเร็จในการ ดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยสร้างความแข็งแกรงเชิงกลยุทธ์ โดยพัฒนาความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์การ เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ให้การปฏิบัติงานในระดับต่าง ๆ ขององค์การมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น การผลิต การขาย การตลาด การจัดการทางการเงิน และทรัพยากรบุคคล ประการสำคัญหลายองค์การได้ให้ความสนใจในการพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับผู้ บริหาร เพื่อให้การตัดสินใจในปัญหาหรือโอกาสทางธุรกิจมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์การระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information Systems) หรือที่เรียกว่า EIS หมาย ถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ ทักษะ และความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร เนื่องจากผู้บริหารเป็นกลุ่มบุคคลที่ต้องการข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะ โดยเฉพาะด้านระยะเวลาในการเข้าถึงและทำความเข้าใจกับข้อมูล โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันทางธุรกิจที่เกิดขึ้นและปรับตัวอย่าง รวดเร็วในปัจจุบันได้สร้างแรงกดดันให้ผู้บริหารต้องตัดสินใจภายใต้ข้อจำกัด ของทรัพยากรทางการจัดการ ระยะเวลา ข้อมูล และการดำเนินงานของคู่แข่งขัน นอกจากนี้ผู้บริหารหลายคนยังมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี สารสนเทศที่จำกัด โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงที่มีอายุมากและไม่มีโอกาสได้พัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และทักษะด้านการใช้งานสารสนเทศ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาและออกแบบระบบสารสนเทศที่สามารถช่วย ให้ผู้บริหารปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบข้อมูลสำหรับผู้บริหารต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร บางครั้งจะเรียกว่า ระบบสนับสนุนผู้บริหาร (Executive Support System) หรือ ESS

คุณสมบัติของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร

              เพื่อให้การใช้งานของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารเกิดประโยชน์ สูงสุด ดังนั้น ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1. สนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning Support)การพัฒนาระบบ EIS ผู้พัฒนาจะต้องมีความรู้ในเรื่องกลยุทธ์ธุรกิจ (Business Strategy) และปัจจัยสำคัญในการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Factors) เพื่อที่จะสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการช่วยเพิ่มประสิทธ์ภาพในการกำหนดแผนทางกลยุทธ์ที่สมบูรณ์

2. เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กร (External Environment Focus)เนื่องจากข้อมูล หรือสารสนเทศ เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะนำมาประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร ดังนั้น EIS ที่ ดี จะต้องมีการใช้ฐานข้อมูลขององค์การได้อย่างรวดเร็วแล้ว ยังจะต้องออกแบบให้สามารถเชื่อมโยงกับแหลงข้อมูลที่มาจากภายนอกองค์การ เพื่อให้ได้ซึ่งข้อมูลที่สำคัญที่จำเป็นต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร

3. มีความสามารถในการคำนวณภาพกว้าง (Broad-based Computing Capabilities)การ ตัดสินใจของผู้บริหารส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่มีโครงสร้างไม่แน่นอนและ ขาดความชัดเจน โดยส่วนใหญ่จะมองถึงภาพโดยรวมของระบบแบบกว้าง ๆ ไม่ลงลึกในรายละเอียด ดังนั้นการคำนวณที่ผู้บริหารต้องการจึงเป็นลักษณะง่าย ๆ ชัดเจน เป็นรูปธรรม และไม่ซับซ้อนมาก เช่น การเรียกข้อมูลกลับมาดู การใช้กราฟ การใช้แบบจำลองแสดงภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

4. ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน (Exceptional Ease of Learning and Use)ผู้ บริหารจะมีกิจกรรมที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกองค์การ ผู้บริหารจึงมีเวลาในการตัดสินใจในแต่ละงานน้อยหรือกล่าวได้ว่าเวลาของผู้ บริหารมีค่ามาก ดังนั้นการพัฒนา EIS จะต้องเลือกรูปแบบการ แสดงผลหรือการโต้ตอบกับผู้ใช้ในแนวทางที่ง่ายต่อการใช้งาน และใช้ระยะเวลาสั้น เช่น การแสดงผลรูปกราฟ ภาษาที่ง่าย และการโต้ตอบที่รวดเร็ว5. พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร (Customization)การ ตัดสินใจของผู้บริหารส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์ต่อพนักงานอื่น และต่อการดำเนินธุรกิจขององค์การ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst and Designer) ต้องคำนึงถึงในการพัฒนา EIS เพื่อให้สามารถพัฒนา EIS ให้มีศักยภาพสูง มีประสิทธิภาพดีเหมาะสมกับการใช้งานและเป็นแบบเฉพาะสำหรับผู้บริหารที่จะเข้าถึงข้อมูลได้ตามต้องการ

ข้อดีของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
1. ง่ายต่อการใช้งานของผู้ใช้โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง
2. ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้อย่างลึกซึ้งในเรื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้ในเวลาสั้น
4. ช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจสารสนเทศที่นำเสนออย่างชัดเจน
5. ประหยัดเวลาในการดำเนินงานและการตัดสินใจ
6. สามารถติดตามและจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อจำกัดของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
1. มีข้อจำกัดในการใช้งาน เนื่องจาก EIS ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะอย่าง
2. ข้อมูลและการนำเสนออาจไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริหาร
3. ยากต่อการประเมินประโยชน์และผลตอบแทนที่องค์การจะได้รับ
4. ไม่ถูกพัฒนาให้ทำการประมวลผลที่ซับซ้อนและหลากหลาย
5. ซับซ้อนและยากต่อการจัดการข้อมูล
6. ยากต่อการรักษาความทันสมัยของข้อมูลและของระบบ
7. ปัญหาด้านการรักษาความลับของข้อมูล
อ้างอิงเนื้อหา http://altraman.exteen.com/20090828/executive-information-systems-eis
อ้างอิงรูปภาพ http://61.19.192.247/webnkw-bak020812/www/nakhonsawan/intra/mis/eis/images/pic_eis.jpg

ประเภทของการตัดสินใจในระบบสารสนเทศ

ประเภทของการตัดสินใจมี 3 ประเภท คือ
1. การตัดสินใจแบบโครงสร้าง(Structure)
2. การตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง(Unstructure)
3. การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semistructure)
1.การตัดสินใจแบบโครงสร้าง(Structure)
     เมื่อมีการกำหนดโปรแกรมการตัดสินใจ องค์กรจะต้องเตรียมกฎเกณฑ์การตัดสินใจไว้ โดยแสดงขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติ ซึ่งอาจเป็นการตัดสินใจ (flow chart) ตารางการตัดสินใจหรือสูตรต่างๆ ขั้นตอนการตัดสินใจต้องระบุถึงสารสนเทศที่ต้องการ ก่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับกฎเกณฑ์การตัดสินใจแบบมีโครงสร้างนั้น จำเป็นต้องมีระบบสารสนเทศอย่างเด่นชัดและมีการนำข้อมูลเข้าที่เป็นไปตามขั้นตอนอย่างแน่นอน มีขั้นตอนการตรวจสอบจนเป็นที่แน่ใจได้ว่าถูกต้อง ทั้งความสมบูรณ์ของ การนำข้อมูลเข้าและการประมวลผล โดยใช้หลักการตัดสินใจทางตรรก (logic) และผลลัพธ์ที่ได้จากการตัดสินใจแบบนี้ จะอยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน คือ จะต้องเด่นชัดในแง่ที่ว่า จะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรและควรมีข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะช่วยให้ผู้รับสามารถนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจ จากหลายๆ กรณีที่ไม่อาจจะกำหนดขั้นตอนหรือกฎเกณฑ์การตัดสินใจเพื่อประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ธรรมดาทั่วๆ ไป ให้ได้มากที่สุดสำหรับสถานการณ์ที่แตกต่างออกไป และไม่สามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้ได้ เราจะใช้คนเป็นผู้ตัดสินใจ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน
2.การตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง(Unstructure)
     การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง ย่อมไม่สามารถกำหนดขั้นตอนการตัดสินใจไว้ก่อนล่วงหน้า อาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่บ่อยครั้ง ทำให้องค์กรต้องเสียค่าใช้จ่ายใน การเตรียมขั้นตอน การตัดสินใจหรือความไม่เข้าใจวิธีการประมวลดีพอหรือมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง จนไม่สามารถจะกำหนดขั้นตอนการตัดสินใจที่เป็นถาวรได้ สิ่งสนับสนุนการตัดสินใจโครงสร้างแบบนี้ ได้แก่ การประมวลผลข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ และขั้นตอนการตัดสินใจที่จะประยุกต์เพื่อหาคำตอบจากปัญหา ข้อมูลที่ต้องการอาจจะจัดหามาก่อนล่วงหน้า ดังนั้นการดึงข้อมูลอาจเกิดตามการร้องขอระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้างจะใช้วิธีการถาม – ตอบและการวิเคราะห์
3.การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semistructure
     เป็นการตัดสินใจต่อเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าหรือคาดการณ์ได้ยากคุณลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
1) จัดเตรียมสารสนเทศซึ่งได้ทำการประมวลผลแล้วจากการประมวลผลข้อมูล เพื่อช่วยในการตัดสินใจ
2) สนับสนุนการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้างหรือแบบกึ่งโครงสร้าง
3) สนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้
4) ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงระบบสารสนเทศที่มีพื้นฐานการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ผู้บริการระดับสูงสามารถเข้าถึง รวบรวม วิเคราะห์ และการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ตามความต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็วคุณลักษณะของระบบเพื่อผู้บริหารระดับสูงเป็นระบบซึ่งพัฒนาขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานของผู้บริหารระดับสูง
5) ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นระบบที่ทำหน้าที่เสมือนผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหารระดับสูง เนื่องจากบางครั้งต้องตัดสินปัญหาที่มีความซับซ้อนเกินกว่าจะตัดสินใจตามลำพังได้ ดังนั้นผู้ให้บริการอาจใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้คำแนะนำ หรือให้คำปรึกษา ค้นหาช่องทาง และโอกาส เพื่อจัดการกับปัญหาที่เผชิญอยู่
อ้างอิงเนื้อหา  http://mlearning.wu.ac.th/moodle145/mod/forum/discuss.php?d=13429
อ้างอิงรูปภาพ http://www.siamtechu.net/~mullika/MIS/MIS.jpg

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)
        ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
        ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ได้เริ่มขึ้นในช่วง ปี ค.ศ. 1970 โดยมีหลายบริษัทเริ่มที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อที่จะช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน หรือกึ่งโครงสร้างโดยข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอด ซึ่งระบบสารสนเทศเดิมที่ใช้ในลักษณะระบบการประมวลผลรายการ (Transaction processing system) ไม่สามารถกระทำได้ นอกจากนั้นยังมีวัตถุประสงค์เพื่อลดแรงงาน ต้นทุนที่ต่ำลงและยังช่วยในเรื่องการวิเคราะห์การสร้างตัวแบบ (Model) เพื่ออธิบายปัญหาและตัดสินใจปัญหาต่างๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1980 ความพยายามในการใช้ระบบนี้เพื่อช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจได้แพร่ออกไป ยังกลุ่มและองค์การต่างๆ

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ คืออะไร
DSS เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน นอกจากนั้น DSS ยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกัน เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอนหรืออาจกล่าวได้ว่า DSS เป็นระบบที่โต้ตอบกันโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อหาคำตอบที่ง่าย สะดวก รวดเร็วจากปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน ดังนั้นระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ จึงประกอบด้วยชุดเครื่องมือ ข้อมูล ตัวแบบ (Model) และทรัพยากรอื่นๆ ที่ผู้ใช้หรือนักวิเคราะห์นำมาใช้ในการประเมินผลและแก้ไขปัญหา ดังนั้นหลักการของ DSS จึงเป็นการให้เครื่องมือที่จำเป็นแก่ผู้บริหาร ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีรูปแบบที่ซับซ้อน แต่มีวิธีการปฏิบัติที่ยืดหยุ่น DSS จึงถูกออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่เพียงแต่การตอบสนองในเรื่องความต้องการของข้อมูลเท่านั้น

ส่วนประกอบของ DSS

ส่วนประกอบของ DSS สามารถจำแนกออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
1.    อุปกรณ์ เป็นส่วนประกอบแรกและเป็นโครงสร้างพื้นฐานของ DSS โดยอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ด้วยกันคือ
1.1.    อุปกรณ์ประมวลผล ประกอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งในสมัยเริ่มแรกจะใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe) หรือมินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) ในสำนักงานเป็นหลักแต่ในปัจจุบันองค์การส่วนมากหันมาใช้ระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) แทนเนื่องจากมีราคาถูก มีประสิทธิภาพดี และสะดวกต่อการใช้งาน ตลอดจนผู้ใช้มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในงานสารสนเทศสูงขึ้น โดยเฉพาะผู้บริหารรุ่นใหม่ที่มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ สามารถที่จะพัฒนา DSS ขึ้นบน คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโดยใช้ชุดคำสั่งประเภทฐานข้อมูล และ Spread Sheet ประกอบ
1.2.    อุปกรณ์สื่อสาร ประกอบด้วยระบบสื่อสารต่างๆ เช่น ระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (LAN) ได้ถูกนำเข้ามาประยุกต์ เพื่อทำการสื่อสารข้อมูลและสารสนเทศของ DSS โดยในบางครั้งอาจจะใช้การประชุมโดยอาศัยสื่อวีดีโอ (Video Conference) หรือการประชุมทางไกล (Teleconference) ประกอบ เนื่องจากผู้มีหน้าที่ตัดสินใจอาจอยู่กันคนละพื้นที่
1.3.    อุปกรณ์แสดงผล DSS ที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีอุปกรณ์แสดงผลเช่น จอภาพที่มีความละเอียดสูง เครื่องพิมพ์อย่างดี และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เพื่อช่วยถ่ายทอดข้อมูลสารสนเทศ ตลอดจนสร้างความเข้าใจในสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ และช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ


2.    ระบบการทำงาน มีนักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นว่า ระบบการทำงานเป็นส่วนประกอบหลักของ DSS เพราะถือว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญในการที่จะทำให้ DSS ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งระบบการทำงานจะประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วนคือ
2.1.    ฐานข้อมูล (Database) DSS จะไม่มีหน้าที่สร้าง ค้นหา หรือปรับปรุงข้อมูลในฐานข้อมูลขององค์การ เนื่องจากระบบข้อมูลขององค์การเป็นระบบขนาดใหญ่มีข้อมูลหลากหลายและเกี่ยวข้องกับข้อมูลหลายประเภท แต่ DSS จะมีฐานข้อมูลของตัวเอง ซึ่งจะมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลที่สำคัญจากอดีตถึงปัจจุบันและนำมาจัดเก็บ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกเก็บไว้อย่างสมบูรณ์ ครบถ้วน และแน่นอน เพื่อรอการนำไปประมวลผลประกอบการตัดสินใจ ขณะเดียวกัน DSS อาจจะต่อเชื่อมกับระบบฐานข้อมูลขององค์การ เพื่อดึงข้อมูลสำคัญบางประเภทมาใช้งาน
2.2.    ฐานแบบจำลอง (Model Base) มีหน้าที่รวบรวมแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และแบบจำลองในการวิเคราะห์ปัญหาที่สำคัญ เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้ปกติ DSS จะถูกพัฒนาขึ้นมาตามจุดประสงค์เฉพาะอย่าง ดังนั้น DSS จะประกอบด้วยแบบจำลองที่ต่างกันตามวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้
2.3.    ระบบชุดคำสั่งของ DSS (DSS Software System) เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูลและฐานแบบจำลอง โดยระบบชุดคำสั่งของ DSS จะมีหน้าที่จัดการ ควบคุมการพัฒนา จัดเก็บ และเรียกใช้แบบจำลองต่างๆ โดยระบบชุดคำสั่ง ของ DSS จะมีหน้าที่จัดการ ควบคุมการพัฒนา จัดเก็บ และเรียกใช้แบบจำลองต่างๆเพื่อนำมาประมวลผลกับข้อมูลขากฐานข้อมูล นอกจากนี้ระบบชุดคำสั่งยังมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือผู้ใช้ในการโต้ตอบกับ DSS โดยที่สามารถแสดงความสัมพันธ์ของส่วนประกอบทั้ง 3 ส่วนคือ
*       ผู้ใช้
*       ฐานแบบจำลอง
*       ฐานข้อมูล


3.    ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกส่วนของ DSS ไม่ว่า DSS จะประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย และได้รับการออกแบบการทำงานให้สอดคล้องกันและเหมาะสมกับการใช้งานมากเพียงใด ถ้าข้อมูลที่นำมาใช้ในการประมวลผลไม่มีคุณภาพเพียงพอแล้วก็จะไม่สามารถช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งยังอาจจะสร้างปัญหา หรือความผิดพลาดในการตัดสินใจขึ้นได้ ข้อมูลที่จะนำมาใช้กับ DSS จะแตกต่างจากข้อมูลในระบบสารสนเทศอื่น โดยที่ข้อมูล DSS ที่เหมาะสม สมควรที่จะมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
3.1.      มีปริมาณพอเหมาะแก่การนำไปใช้งาน
3.2.      มีความถูกต้องและทันสมัยในระดับที่เหมาะสมกับความต้องการ
3.3.      สามารถนำมาใช้ได้สะดวก รวดเร็ว และครบถ้วน
3.4.      มีความยืดหยุ่นและสามารถนำมาจัดรูปแบบ เพื่อการวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสม


4.    บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เนื่องจากบุคคลจะเกี่ยวข้องกับ DSS ตั้งแต่ การกำหนดเป้าหมายและความต้องการ การพัฒนา ออกแบบ และการใช้ DSS ซึ่งสามารถแบ่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ DSS ออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้
4.1.    ผู้ใช้ (End-user) เป็นผู้ใช้งานโดยตรงของ DSS ได้แก่ ผู้บริหารในระดับต่างๆตลอดจนนักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจที่ต้องการข้อมูลสำหรับประกอบการตัดสินใจในปัญหาที่เกิดขึ้น
4.2.    ผู้สนับสนุน DSS (DSS Supports) ได้แก่ ผู้ควบคุมดูแลรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ผู้พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ผู้จัดการข้อมูลและที่ปรึกษาเกี่ยวกับระบบ เพื่อให้ DSS มีความสมบูรณ์ และสามารถดำเนินงานอย่างเต็มประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการของผู้ใช้

เราจะเห็นว่าหัวใจสำคัญของ DSS ที่ดีจำเป็นที่จะต้องมีบุคลากรที่มีความสามารถเหมาะสมที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับระบบ มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถทำงานได้อย่างสอดคล้องกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามความต้องการขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล


การพัฒนา DSS
     
        การพัฒนา DSS จะมีความแตกต่างจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการโดยทั่วไป เนื่องจาก DSS ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นสำหรับผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม โดย DSS จะต้องการข้อมูลในปริมาณที่เหมาะสมและตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งมีปริมาณน้อยแต่เจาะจงกว่าระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ แต่ DSS ต้องอาศัยแบบจำลองการวิเคราะห์ปัญหา ซึ่งสลับซับซ้อนกว่าระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมาก นอกจากนี้ DSS โดยส่วนมากจะถูกออกแบบมาอย่างเฉพาะเจาะจงเพื่อใช้ในการสนับสนุนและการแก้ปัญหาเฉพาะอย่าง ซึ่งต้องการความยืดหยุ่นในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เหมาะสม ดังนั้นการพัฒนา DSS จึงจำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการพัฒนา ด้วย ซึ่งเราจะกล่าวถึงขั้นตอนการพัฒนาระบบ DSS ดังต่อไปนี้
1.      การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) เป็นขั้นตอนแรกในการพัฒนา DSS โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะกำหนดถึงปัญหา ตลอดจนวิเคราะห์หาขั้นตอนที่สำคัญในการตัดสินใจแก้ปัญหานั้นๆ โดยผู้ที่จะใช้ระบบสมควรที่จะมีส่วนร่วมในขั้นตอนนี้เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากผู้ใช้จะรับทราบและเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการทำงาน จึงสามารถกำหนดและสรุปปัญหาอย่างครอบคลุม จากนั้นกลุ่มผู้วิเคราะห์ระบบจะศึกษาถึงความเหมาะสมและความพอเพียงของข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์ ตลอดจนลักษณะของปัญหาว่าเหมาะกับการใช้ DSS ช่วยหรือไม่ ก่อนที่ข้ามไปยังขั้นตอนต่อไป
2.      การออกแบบระบบ (System Design) DSS จะเป็นระบบสารสนเทศที่มีความพิเศษในตัวเองที่สามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปเรื่อยๆ ผู้ออกแบบควรจะออกแบบให้ระบบ มีความยืดหยุ่นสูงสามารถปรับตัวได้ตามความเหมาะสมและมีความสะดวกต่อผู้ใช้ ประการสำคัญ DSS จะเกี่ยวข้องกับปัญหากึ่งโครงสร้าง หรือไม่มีโครงสร้าง ซึ่งยากต่อการกำหนดรายละเอียดและกำหนดแนวทางการตัดสินใจล่วงหน้า โดยเฉพาะการกำหนดคุณสมบัติของระบบและตรรกะของการตัดสินใจ การพัฒนา DSS จึงนิยมใช้วิธี “การพัฒนาการจากต้นแบบ (Evolutionary Prototyping Approach)” โดยสร้างต้นแบบ (Prototype) ขึ้นเพื่อการศึกษาและทดลองใช้งานในขณะเดียวกัน จากนั้นจึงพัฒนาให้ระบบต้นแบบมีความสมบูรณ์ขึ้น ประการสำคัญการทำต้นแบบขึ้นมาทดลองใช้งานทำให้การออกแบบรัดกุม และช่วยลดความผิดผลาด เมื่อนำระบบไปประยุกต์ใช้งานจริง
3.      การนำไปใช้ (Implementation) DSS จะแตกต่างจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการโดยทั่วไปที่ผู้ใช้จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบจากแรกเริ่มต้นจนถึงสภาวะปัจจุบันและจะพัฒนาต่อไปในอนาคต ดังนั้นนักพัฒนาระบบสมควรที่จะเก็บรายละเอียดและข้อมูลของระบบไว้อย่างดีเพื่อที่จะนำมาใช้อ้างอิงในอนาคต นอกจากนี้การติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการทำงานของระบบนับเป็นสิ่งสำคัญในการตรวจสอบการทำงานของระบบหลังการนำไปใช้งาน โดยที่ผู้ออกแบบสมควรจะประเมินปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อจำไปใช้ปรับปรุงแก้ไขระบบในอนาคต
ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้ผู้ใช้สามารถพัฒนา DSS บนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยใช้ชุดคำสั่งประเภท Spread Sheet เช่น Excel หรือ Lotus เป็นพื้นฐานโดยสร้างแบบจำลองการตัดสินใจและปรับเปลี่ยนข้อมูลของตัวแปรแต่ละตัว เพื่อทดสอบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เช่น การปรับราคาสินค้าจะมีผลต่อยอดขายอย่างไร เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้สามารถนำแบบจำลอง สำหรับการตัดสินใจมาทดสอบปฏิบัติในสถานการณ์จำลอง (Simulated Situation) จนกว่าจะสามารถให้ผลลัพธ์ที่พอใจ ซึ่งจะส่งผลต่อรูปแบบและพัฒนาการของ DSS สำหรับการใช้งานทางธุรกิจในอนาคต
อ้างอิงเนื้อหา http://www.sirikitdam.egat.com/WEB_MIS/107/
อ้างอิงรูปภาพ http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5028112/images/dss.jpg

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(MIS)

     1.ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) (MIS) เป็นระบบเกี่ยวกับการจัด หาคน หรือข้อมูลที่สัมพันธ์กับข้อมูล เพื่อการดำเนินงานขององค์การ เช่น การใช้ MIS เพื่อช่วยเหลือกิจกรรมของลูกจ้าง เจ้าของกิจการ ลูกค้า และบุคคลอื่นที่เจ้ามาเกี่ยวข้องกับองค์การ การประมวลผลของข้อมูลจะช่วยแบ่งภาระการ ทำงานและยังสามารถนำ สารสนเทศมา ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือ MIS เป็นระบบซึ่งรวมความสามารถของผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศเพื่อการดำเนินงานการจัดการ และการตัดสินใจในองค์การ หรือ MIS หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูล การ ประมวลผล และการสร้างสารสนเทศขึ้นมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ การประสานงาน และการควบคุม นอกจากนั้นยังช่วยผู้บริหาร และ พนักงานในการวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหา และสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ โดย MIS จะต้องใช้อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ (Hardware) และ โปรแกรม (Software) ร่วมกับผู้ใช้ (Peopleware) เพื่อก่อให้เกิดความสำเร็จในการได้มาซึ่งสารสนเทศที่มีประโยชน์ การใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) ได้ขยายขอบเขตเกี่ยว ข้องกับ หลายหน้าที่ในองค์การและเป็นประโยชน์กับบุคคลหลายระดับ ตั้งแต่การใช้งานส่วนบุคคล กลุ่ม องค์การ และระหว่างหน่วยงาน MIS ช่วยให้ผู้ใช้สารสนเทศสามารถแก้ไขปัญหาทางธุรกิจที่ยุ่งยาก และซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสร้างโอกาสทางธุรกิจ ให้กับหลายองค์การ ดังที่ Kroenkeและ Hatch (1994) กล่าวถึง ความสำคัญและผลกระทบของระบบสารสเทศที่มีต่อธุรกิจดังต่อไปนี้

     1. ระบบสารสนเทศช่วยสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับการทำงาน
     2. บุคลากรทุกคนต้องมีความรู้เกี่ยวกับ MIS เนื่องจากปัจจุบันมีการพัฒนาและการใช้งานสารสนเทศทั่วองค์การ ตลอดจนการขยาย ตัวของเทคโนโลยีสารสนเทศและการปรับรูปของระบบงานอย่างต่อเนื่อง
     3. การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจและการบรรลุเป้าหมายขององค์การมากขึ้น ปัจจุบันเทคโนโลยี MIS มีพัฒนาการมากขึ้นจนมีความสำคัญต่อเราในหลายระดับที่แตกต่างจากอดีต เราจะเห็นว่า เทคโนโลยีสารสนเทศมีความจำเป็นและความสำคัญสำหรับผู้ศึกษาและปฏิบัติงานในสาขาต่าง ๆ เช่น การบัญชี การเงิน การตลาด และการจัดการทรัพยากรบุคคล แม้กระทั่งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศิลปศาสตร์ ดังนั้นบุคลากรที่จะปฏิบัติงาน ในทุกสาขา จึงสมควรมีความรู้และความเข้าใจในหลักการของ MIS เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จในอาชีพได้ Laudon และ Laudon (1994) กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อสภาพแวดล้อมในการแข่งขันทางธุรกิจมี 2 ประการคือ
     1. การรวมตัวของระบบเศรษฐกิจโลก (Emergence of the Global Economy) ก่อให้เกิดกระบวนการโลกาภิวัตน์ ของตลาด (Globalization of Markets) ที่เกิดการบูรณาการของทรัพยากรทางธุรกิจและการแข่งขันทั่วโลก ธุรกิจขยาย งานครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางจากระดับท้องถิ่นสู่ระดับประเทศ จากระดับประเทศสู่ระดับภูมิภาค และจากระดับภูมิภาคสู่ ระดับโลก โดยที่การขยายตัวของธุรกิจไม่เพียงแต่เป็นการกระจายสินค้า และบริการอย่างเป็นระบบและทั่วถึง แต่ครอบคลุม การจัดตั้ง การจัด เตรียม ทรัพยากร การผลิตและดำเนินงาน ดังนั้นองค์การธุรกิจในยุค โลกาภิวัตน์จึง ต้องมีโครงสร้าง องค์การและการ ประสานงานที่สอดรับและสามารถควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ
     2. การปรับรูปของระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (Transformation of Industrial Economies) ประเทศ อุตสาหกรรม ชั้นนำ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ยุโรปตะวันตก และญี่ปุ่นปรับตัวจากระบบ เศรษฐกิจอุตสาหกรรมเข้าสู่ ระบบเศรษฐกิจที่อาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งจะเห็นได้จากประมาณร้อยละ 70 ของรายได้ประชาชาติของประเทศที่พัฒนาแล้ว จะมาจากธุรกิจบริการ และธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) การปรับรูปของระบบเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมเข้าสู่ธุรกิจบริการ ส่งผลกระทบต่อการค้าและการลงทุน เช่น การแข่งขันทวีความรุนแรงและซับซ้อนขึ้น วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ และบริการสั้นลง ธุรกิจต้องตอบสนองและสร้างความพอใจแก่ลูกค้า เป็นต้น ทำให้ธุรกิจต้องการบุคลากรที่มี ความรู้ (Knowledge Worker) ในการสร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่องค์การ ส่งผลให้ธุรกิจต้องพัฒนา ทรัพยากรบุคคลอย่างต่อเนื่อง ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หมายถึง ระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกองค์การอย่างมีหลักเกณฑ์ เพื่อนำมาประมวลผลและจัดรูปแบบให้ได้ สารสนเทศที่ ช่วยสนับสนุนการทำงาน และการตัดสินใจในด้านต่าง ๆ ของผู้บริหารเพื่อให้การดำเนินงานของ องค์การ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่เราจะเป็นว่า MIS จะประกอบด้วยหน้าที่หลัก 2 ประการคือ 1. สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ มาไว้ด้วยกัน อย่างเป็นระบบ 2. สามารถทำการประมวลผลข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุน การปฏิบัติงานและการบริหารงานของผู้บริหาร แหล่งที่มา
     รูปที่ 1 หน้าที่หลักของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ชุมพล ศฤงคารศิริ (2537 : 2) ให้ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ เป็นระบบที่รวม (integrate) ผู้ใช้ (user) เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ (machine) เพื่อจัดทำสารสนเทศ สำหรับสนับสนุน การปฏิบัติงาน (operation) การจัดการ (management) และการตัดสินใจ (decision making) ในองค์กรจาก ความหมายที่กล่าวมาสามารถสรุปความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการได้คือ การรวบรวมและการจัดเก็บข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์การ ทั้งจากภายใน และภายนอก หน่วยงาน เพื่อนำมาประมวลผล และจัดรูปแบบ ให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับองค์การ ในการช่วยในการตัดสินใจ ประสานงาน และควบคุมของผู้บริหาร ในอันที่จะ ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แหล่งที่มา  http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5128209/1/index1.htm
อ้างอิงรูปภาพ https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg8gELTn7-boEw2b783FKrneg2Cm1fwYJQcc3zbzoT8e1thS5xM-Bu3pdDrC4NsaB50uis0Ux0N2oT6YTIyunYWzU13C4ZXCzZAPHou0e1vOCrOm9lrHJwGParEX9BOpFSpnG99_AAxd2k9/s400/image003%5B1%5D.jpg




คำศัพท์และความหมาย ที่เกี่ยวข้อง กับ การพัฒนาระบบสารสนเทศ

1) DATA (ดาต้า) หมายถึง ข้อมูล ทุกสิ่งที่นำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์

2) DATABASE หมายถึง ฐานข้อมูล ที่รวมของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน และจัดเป็นหมวดหมู่เพื่อให้ค้นคืนได้ง่าย

3) DIGITAL หมายถึง ดิจิตอล, การแสดงข้อมูลในรูปของตัวเลข

4) FILE (ไฟล์) หมายถึง แฟ้มข้อมูล กลุ่มของเรดคอร์ดตั้งแต่ 1 เรดคอร์ดขึ้นไปรวมถึงมีความหมายเกี่ยวพันในเรื่องเดียวกัน เช่น เรดคอร์ดของพนักงานทั้งหมดในบริษัท

5) HARDWARE (ฮาร์ดแวร์) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น จอมอนิเตอร์ เคส ฮาร์ดดิสก์

6) SOFTWARE (ซอฟต์แวร์) หมายถึง โปรแกรมควบคุมระบบ โปรแกรมอำนวยความสะดวกหรือโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ( sortware packege : โปรแกรมสำเร็จรูป )

7) LOGIN หมายถึง การติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์

8)Cool LOGOUT หมายถึง การเลิกติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เลิกการใช้งานเครื่อง คอมพิวเตอร์

9) LOAD หมายถึง บรรจุ การบรรจุโปรแกรมจากแผ่นจานแม่เหล็กลงสู่หน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์

10) MODEM หมายถึง โมเด็ม อุปกรณ์รอบนอกชนิดหนึ่งซึ่งช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถส่งและรับข้อมูลผ่านทางสายโทรศัพท์ อุปกรณ์สื่อสารข้อมูลมีหน้าที่แปลงสัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเทอร์มินอลเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งผ่านสายโทรศัพท์และเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้ากลับเป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์เมื่อถึงปลายทาง ย่อมาจาก “Modulate Demodulator”

11) ON-LINE (ออนไลน์) หมายถึง การทำงานโดยการติดต่อสื่อสารโดยเครื่อง คอมพิวเตอร์ การทำงานโดยอยู่ในความควบคุมของซีพียู เช่น เครื่องพิมพ์ ถ้า ON-LINE จะรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ จะไปรับข้อมูลจากแป้นพิมพ์

12) NETWORK หมายถึง เครือข่าย ระบบที่มีการเชื่อมโยงกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องเทอร์มินอล หรือ 1. การเป็นสมาชิกมีสายสัมพันธ์กับองค์กร เพื่อประโยชน์ทางข้อมูลข่าวสารและวิชาชีพ 2. ในวงการเทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง เครือข่ายการสื่อสารผ่านส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในระบบนั้น เช่น เครือข่ายของระบบโทรคมนาคม ,เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องอาศัยเชื่อมโยงกับระบบโทรคมนาคมด้วย หรือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อต่อกันเป็นกลุ่มโดยระบบเครือข่ายมีทั้งระบบเครือข่ายคลุมพื้นที่กว้าง (LAN :Local Area Network) , ระบบเครือข่ายส่วนบุคคลหรือกึ่งส่วนบุคคลปกติไว้ใช้รับส่งข้อมูลเชิงพาณิชย์ (VAN : Value-Added Network), ระบบเครือข่ายในเขตปริมณฑล (MAN : Metropolitan Area Network) ระบบเครือข่ายในมหาวิทยาลัย (CAN : campus Area Network)

13) PASSWORD หมายถึง รหัสผ่าน รหัสซึ่งเป็นความลับ รู้เฉพาะผู้ใช้งานเพียงคนเดียวใช้ในการติดต่อระบบที่มีผู้ใช้งานหลายคนเพื่อป้องกันบุคคลอื่นซึ่งไม่มีหน้าที่เข้าถึงโปรแกรม หรือแฟ้มข้อมูล

14) IP หรือ Internet Protocol หมายถึง มาตรฐานในการติดต่อสื่อสารเลเยอร์ (Layer) ที่ 3 (มาตรฐาน ISO มี 7 Layer) ของเครือข่ายที่ควบคุมกิจกรรมในการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบอินเตอร์เน็ต

15) IRC หรือ Internet Relay Chat หมายถึง โปรแกรมบริการ ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่นในระบบอินเตอร์เน็ต

16) ISP หรือ Internet Service Provider หมายถึง ผู้ให้บริการทางอินเตอร์เน็ต โดยคดค่าบริการจากเวลาในการใช้งานในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อัตราค่าบริการขึ้นกับบริษัทของแต่ละประเทศ ตัวอย่างผู้ให้บริการทางอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย เช่น เคเอสซี , ไอเน็ต, เอเน็ต, ล็อกซ์อินโฟ, เอเชียเน็ต เป็นต้น

17) MIME ย่อมาจาก Multipurpose Internet Mail Extensions หมายถึง มาตรฐานสำหรับระบุชนิดของข้อมูล ซึ่งถูกคิดค้นมาเพื่อการแนบไฟล์ไปกับอี-เ มล์ (E-mail) แต่ต่อมาถูกใช้ในหลายๆ งาน เช่น ระบบเวบ (Web) ด้วย เช่น เท็กซ์/เอชทีเอ็มแอล (text/html) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร และเป็นข้อมูล HTML

18) SLIP หรือ Serial Lind Internet Protocol หมายถึง ข้อกำหนด หรือวิธีของการเชื่อมโยงอินเตอร์เน็ต
แบบอนุกรม โดยผู้ใช้หรือบริษัทใช้สายโทรศัพท์และโมเด็ม (Modem) โดยไม่ต้องผ่าน เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Host computer) เพื่อเชื่อมโยงกับระบบอินเตอร์เน็ตการเชื่อมโยง “SLIP” ต้องเช่าจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP)

19) TCP/IP หรือ Transmission Control Protocol/Internet Protocol หมายถึง กฏเกณฑ์ หรือมาตรฐานที่ใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันในระบบอินเตอร์เนต ให้ติดต่อกันได้โดย IP ทำหน้าที่แยกข่าวสาร (Message) เป็น Package ย่อยๆ ส่วน TCP ทำหน้าที่จัด และรวม packets ทั้งหมดเป็นข่าวสาร

20) VOIP ย่อมาจาก Voice Over IP หรือ Voice Over Internet Protocol หมายถึง เทคโนโลยีส่งข้อมูลแบบเสียง โดยนำข้อมูลเสียงมา แปลงให้อยู่ในรูปของ Packet แบบ IP แล้วส่งไปในเครือข่าย

อ้างอิงเนื้อหา
http://wintesla2003.com/topic/150366

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ตัวอย่างการพัฒนาระบบสารสนเทศ


การพัฒนาระบบสารสนเทศ
ความจำเป็นในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
1.  การเปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงาน  ระบบเดิมไม่สามารถให้ข้อมูลหรือทำงานได้ตามต้องการ มีการดำเนินงานหลายขึ้นตอน ยุ่งยากในการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำข้อมูลสรุปสำหรับการติดตามการปฏิบัติงานโดยรวมขององค์การ จึงจำเป็นต้องพัฒนาหรือปรับปรุงระบบสารสนเทศที่สามารถช่วยให้ขั้นตอนการปฏิบัติงานภายในและกระบวนการบริหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.  การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี  เทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในระบบสารสนเทศปัจจุบันล้าสมัย ค่าช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบมีราคาสูง จึงต้องรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ซึ่งทำให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานที่มีอยู่เดิม
3.  การปรับองค์การและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
-  ระบบที่ใช้งานอยู่ปัจจุบันมีขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อน ขนาดเอกสารอ้างอิงหรือเอกสารที่มีอยู่ไม่ได้มารตรฐาน ทำให้การปรับปรุงหรือแก้ไขทำได้ยาก
-  ความต้องการปรับองค์การให้เหมาะสมเพื่อสามารตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ
-  ระบบปัจจุบันไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้
การพัฒนาระบบประกอบด้วย
            1)  กระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และขั้นตอนการดำเนินธุรกิจขององค์การ
            -  การปรับปรุงคุณภาพ
            -  การติดตามความล้มเหลวจากการดำเนินงาน
            -  การปรับค่าตอบแทนของพนักงานโดยใช้การปรับปรุงคุณภาพเป็นดัชนี
            -  การค้นหาและแก้ไขสาเหตุที่แท้จริงของความล้มเหลว        
2)  บุคลากร (People)
3)  วิธีการและเทคนิค (Methodology and Technique) การเลือกใช้วิธีการและเทคนิคที่เหมาะสมกับลักษณะของระบบเป็นสิ่งสำคัญ
4)  เทคโนโลยี (Technology) เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบในการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความเหมาะสมกับลักษณะขอบเขตของระบบสารสนเทศแล ะงบประมาณที่กำหนด
5)  งบประมาณ (Budget)
6)  ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์การ (Infrastructure)
7)  การบริหารโครงการ (Project Management)
                 
ทีมงานพัฒนาระบบ
การพัฒนา IT เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบกระบวนการพัฒนาระบบหลายกลุ่ม โดยทั่วไปจะมีการทำงานเป็นทีมที่ต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์ และทักษะจากกลุ่มบุคคล
1)  คณะกรรมการ (Steering Committee)
2)  ผู้บริหารโครงการ (Project Manager)
3)  ผู้บริหารหน่วยงานด้านสารสนเทศ (MIS Manager)
4)  นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) ควรมีทักษะในด้านต่างๆ คือ
                        -  ทักษะด้านเทคนิค
                        -  ทักษะด้านการวิเคราะห์
                        -  ทักษะดานการบริหารจัดการ
                        -  ทักษะด้านการติดต่อสื่อสาร
5)  ผู้ชำนาญการทางด้านเทคนิค
                        -  ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA)
                        -  โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
6)  ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป (User and Manager)

หลักในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ
1)  คำนึงถึงเจ้าของและผู้ใช้ระบบ
2)  เข้าถึงปัญหาให้ตรงจุด ซึ่งมีแนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นระบบมีขั้นตอนดังนี้
     -  ศึกษาทำความเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้น
                     -  รวบรวมและกำหนดความต้องการ
     -  หาวิธีการแก้ปัญหาหลายๆ วิธีและเลือกวิธีที่ดีที่สุด
     -  ออกแบบและทำการแก้ปัญหาตามวิธีที่เลือก
     -  สังเกตและประเมินผลกระทบจากวิธีแก้ปัญหาที่นำมาใช้ และปรับปรุงวิธีการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
3)  กำหนดขั้นตอนหรือกิจกรรมในการพัฒนาระบบ
4)  กำหนดมาตรฐานในการพัฒนาระบบ
5)  ตระหนักว่าการพัฒนาระบบเป็นการลงทุนประเภทหนึ่ง
6)  เตรียมความพร้อมหากจะต้องยกเลิกหรือทบทวนระบบสารสนเทศที่กำลังพัฒนา
7)  แตกระบบสารสนเทศที่จะพัฒนาออกเป็นระบบย่อย
8)  ออกแบบระบบให้สามารถรองรับต่อการขยายหรือการปรับเปลี่ยนในอนาคต

 ขั้นตอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
-  การกำหนดและเลือกโครงการ (System Identification and Selection)
          -  การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ (System Initiation and Planning)
-  การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
-  การออกแบบระบบ (System Design)
          -  การพัฒนาและติดตั้งระบบ (System Implementation)
-  การบำรุงรักษาระบบ (System Maintenance)

การพัฒนาระบบมีรูปแบบต่างๆ
1.  การพัฒนาระบบแบบน้ำตก (Waterfall Model) แต่ละขั้นตอนของการพัฒนาระบบจะเริ่มได้ก็ต่อเมื่อได้ทำขั้นตอนก่อนหน้านี้เสร็จเรียบร้อยและจะไม่ย้อนกลับไปทำขั้นตอนก่อนหน้านี้อีก
          2.  การพัฒนาระบบแบบน้ำตกที่ย้อนกลับขั้นตอนได้ (Adapted Waterfall ) เป็นรูปแบบการพัฒนาที่หากดำเนินการในขั้นตอนใดอยู่สามารถย้อนกลับไปขั้นตอนก่อนหน้านี้ได้เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดหรือ  
          เพื่อต้องการความชัดเจน
3. การพัฒนาระบบอย่างรวดเร็ว (Rapid Application Development) เป็นรูปแบบการพัฒนาที่มีการทำซ้ำบางขั้นตอนจนกว่าขั้นตอนต่างๆ ของระบบที่สร้างจะได้รับการยอมรับ
4. การพัฒนาระบบในรูปแบบขดลวด (Evolutionary Model SDLC)  เป็นการพัฒนาระบบแบบวนรอบเพื่อให้การพัฒนาระบบมีความรวดเร็วโดยการพัฒนาระบบจะเริ่มจากแกนกลาง ในรอบแรกของการพัฒนาจะได้  ระบบรุ่น(Version) แรกออกมาและจะปรับปรุงให้ดีขึ้นในรุ่นที่สอง และดำเนินการแบบนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้รุ่นที่สมบูรณ์

วงจรการพัฒนาระบบ
Phase 1  การกำหนดและเลือกสรรโครงการ  (System Identification and Selection) ผลของการพิจารณาของคณะกรรมการอาจเป็นไปได้ดังนี้
            -  อนุมัติโครงการ
            -  ชะลอโครงการ
            -  ทบทวนโครงการ
            -  ไม่อนุมัติโครงการ

Phase 2  การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ  (System Initiation and Planning) จะเริ่มจัดทำโครงการ  โดยจัดตั้งทีมงานพร้อมทั้งกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบ
-     การศึกษาความเป็นไปได้
-     การพิจารณาผลประโยชน์หรือผลตอบแทนที่จะได้รับจากโครงการ
-     การพิจารณาค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนของโครงการ
-     การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการพัฒนาระบบสารสนเทศ

Phase 3  การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) ในขั้นตอนนี้จะเกี่ยวกับการเก็บข้อมูล
-     Fact-Finding Technique
-     Joint Application Design (JAD)
-     การสร้างต้นแบบ

Phase 4  การออกแบบระบบ (System Design) การออกแบบแบ่งเป็น 2 ส่วน
-     การออกแบบเชิงตรรกะ (Logical Design)
-     การออกแบบเชิงกายภาพ (Physical Design)

Phase 5  การดำเนินการระบบ (System Implementation) ซึ่งจะครอบคลุมกิจกรรมดังต่อไปนี้
-     จัดซื้อหรือจัดหาฮาร์ดแวร์ (Hardware) และซอฟต์แวร์ (Solfware)
-     เขียนโปรแกรมโดยโปรแกรมเมอร์ (Coding)
-     ทำการทดสอบ (Testing)
-     การจัดทำเอกสารระบบ (Documentation)
-     การถ่ายโอนระบบงาน (System Conversion)
-     ฝึกอบรมผู้ใช้ระบบ (Training)

Phase 6  การบำรุงรักษาระบบ (System Maintenance)
            เป็นขั้นตอนการดูและระบบเพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพในการทำงานโดยบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีหน้าที่ในส่วนนี้
การบำรุงรักษาระบบแบ่งได้ 4 ประเภท
-     Corrective Maintenance เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดของระบบ
-     Adaptive Maintenance  เพื่อให้ระบบสามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น
-     Perfective Maintenance  เพื่อบำรุงรักษาระบบให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-     Preventive Maintenance  เพื่อบำรุงรักษาระบบป้องกันข้อผิดพลาดที่จะเกิด

วิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศ
1)  การพัฒนาระบบงานแบบดั้งเดิม (Traditional SDLC Methodology) เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศตามวงจรการพัฒนาระบบที่มีขั้นตอนที่แน่นอน วิธีนี้เป็นวิธีเก่าแก่ที่สุดและนิยมเรียกย่อๆ ว่า SDLC
2)  การสร้างต้นแบบ (Prototyping) เป็นการสร้างระบบต้นแบบขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้ทดลองใช้งานซึ่งนอกจากผู้ใช้จะได้แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศที่ต้องการแล้วยังช่วยให้มองเห็นภาพของระบบที่จะพัฒนาได้ชัดเจนขึ้น
การพัฒนาระบบโดยใช้ตนแบบแบงออกเป็น 4 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 :  ระบุความต้องการเบื้องต้นของผู้ใช้
ขั้นที่ 2 :  พัฒนาต้นแบบเริ่มแรก
ขั้นที่ 3 :  นำต้นแบบมาใช้
ขั้นที่ 4 :  ปรับปรุงแก้ไขต้นแบบ
3)  การพัฒนาระบบโดยผู้ใช้ (End-user Development)
4)  การใช้บริการจากแหล่งภายนอก (Outsourcing) เนื่องจากองค์การไม่มีบุคลากรที่มีทักษะความชำนาญ การจ้างหน่วยงานหรือบริษัทภายนอกที่มีความชำนาญด้านนี้มาทำการพัฒนาระบบให้ ซึ่งการทำสัญญาจ้างให้หน่วยงานภายนอกมาทำงานเกี่ยวกับการดำเนินงานของฝ่ายคอมพิวเตอร์นี้เรียกว่า IT Outsourcing ในที่นี้จะเรียกสั้นๆ ว่า Outsourcing
5)  การใช้ซอฟแวร์สำเร็จรูปประยุกต์ (Application Software Package) เป็นทางเลือกหนึ่งในการพัฒนา เช่น ระบบงานเงินเดือน ระบบบัญชีลูกหนี้ หรือระบบควบคุมสินค้าคลคลัง หากซอฟต์แวร์สำเร็จรูปสามารถสนองต่อความต้องการระบบงานขององค์การได้ องค์การก้ไม่จำเป็นต้องพัฒนาขึ้นเอง เนื่องจากโปรแกรมสำเร็จรูปได้รับการออกแบบและผ่านการทดสอบแล้ว จึงช่วยลดค่าใช่จ่ายและเวลาในการพัฒนาระบบใหม่และยังช่วยให้การทดสอบ การติดตั้ง และการบำรุงรักษาระบบเป็นไปได้ง่ายขึ้น

การพัฒนาระบบแบบออบเจ็กต์ (Object-Oriented Methodology)
            ประกอบด้วยกลุ่มของวัตถุ (Class of Objects) ซึ่งทำงานร่วมกัน มีการจัดกลุ่มของข้อมูลและพฤติกรรมหรือฟังก์ชันที่กระทำกับข้อมูลนั้นเป็นกลุ่มๆ ในรูปของออบเจ็กต์ เนื่องจากออบเจ็กต์มีคุณสมบัติในการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Reusability) การพัฒนาโปรแกรมแบบออบเจ็กต์จึงใช้เวลาในการพัฒนาน้อยกว่าวิธีอื่น

การพัฒนาระบบงานประยุกต์แบบรวดเร็ว (Rapid Application Development) เป็นขั้นตอนในการพัฒนาระบบที่ใช้ระยะเวลาในการพัฒนารวดเร็วกว่าและคุณภาพดีกว่าวิธีพัฒนาระบบงานแบบดั้งเดิม  โดยมีการนำเครื่องมือซอฟต์แวร์มาช่วยในการพัฒนาระบบซึ่งมีขั้นตอนในการพัฒนาระบบอยู่ 4 ขั้นตอนคือ
1)  การกำหนดความต้องการ
2)  การออกแบบโดยผู้ใช้
3)  การสร้างระบบ
4)  การเปลี่ยนระบบหรือใช้ระบบ

ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ประสบความสำเร็จ
1)  การสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร
2)  การกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
3)  ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของทีมพัฒนาระบบ
4)  การเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
5)  การบริหารโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
อ้างอิงเนื้อหา
http://thailocal.nso.go.th/nso-cms/itdevelop.html
อ้างอิงรูปภาพ
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5128157/images/mis-school.jpg