การพัฒนาระบบสารสนเทศ คือ การสร้างระบบงานใหม่หรือการปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมที่มีอยู่แล้วให้สามารถทำงายเมื่อมีปัญหาการดำเนินธุรกิจได้ตามความต้องการของผู้ใช้งานและเจ้าของระบบ โดยอาจนำคอมพิวเตอร์ช่วยในการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อประมวลผล เรียบเรียง เปลี่ยนแปลงและจัดเก็บ ให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพในการพัฒนาระบบสารสนเทศนั้นให้มีการดำเนินการอยู่ภายใน “วงจรการพัฒนาระบบ “ (System Development Life Cycle LDLC) ซึ่งหมายถึง กระบวนการความคิดในการพัฒนาระบบสารสนเพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ โดยภายในวงจรนั้นจะแบ่งกระบวนการพัฒนาออกเป็นระยะ ได้แก่ ระยะการวางแผน ระยะการวิเคราะห์ ระยะการออกแบบ และระยะการสร้างและการพัฒนาโดยแต่ระยะจะประกอบไปด้วยขั้นตอนหรือกิจกรรมต่าง ๆซึ่งแต่ละโครงการพัฒนาระบบจะมีการแบ่งเวลาและขั้นตอนในแต่ระยะที่แตกต่างกัน ทำให้ปัจจุบันมีรูปแบบของวงจรการพัฒนาระบบแตกแขนงออกไปมาก
จากนั้นได้มีการคิดค้นวิธีการที่จะทำให้กระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศ สามารถนำไปใช้ปฏิบัติให้สำเร็จลุล่วงจนกลายเป็นระบบที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากมายด้วยกันหลายวิธี เรียกวิธีการนี้ว่า “Methodology” แต่ละวิธีต้องอาศัยแบบจำลอง เทคนิค และเครื่องมือ ในการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อพัฒนาระบบในวงจร SDLC แบบ Adapted Waterfall ซึ่งแบ่งออก 7 ขั้นตอนได้แก่การค้นหาเลือกสรรโครงการ จัดตั้งและวางแผนโครงการ วิเคราะห์ระบบ ออกแบบเชิงตรรกะ ออกแบบเชิงกายภาพพัฒนาและติดตั้งระบบและซ่อมบำรุงระบบ
ไม่ว่านักวิเคราะห์ระบบจะใช้ Methodology รูปแบบใดก็ตามในการพัฒนาระบบสารสนเทศ นักวิเคราะห์ระบบมีหลักในการพัฒนาระบบซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์ระบบจะคำนึงถึงเสมอ ทั้งนี้เพื่อให้การพัฒนาระบบนั้นสามารถสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี หลักการดังกล่าวได้แก่ การคำนึงเจ้าของระบบและผู้ใช้ระบบ การพยามแก้ไขปัญหาให้ตรงตามจุด การกำหนดขั้นตอนในการทำงาน กำหนดมาตรฐานในการพัฒนาและจัดทำเอกสารประกอบในทุกขั้นตอน การพัฒนาระบบคือการลงทุน การเตรียมความพร้อมโครงการต้องถูกยกเลิกหรือทบทวนใหม่ การแตกระบบใหญ่ให้เป็นระบบย่อยและหลักเกณฑ์สุดท้ายคือการออกแบบระบบเพื่อรองรับการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
ปัจจุบันมีซอร์ฟแวร์ที่ช่วยในการพัฒนาระบบสารสนเทศมีความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ด้วยการเตรียมฟังก์ชันการทำงานที่ช่วยในการสร้างแผนภาพ ตัวต้นแบบ รายงานและแบบฟอร์ม โค้ดโปรแกรม เอกสารรายละเอียดของโปรแกรม เอกสารรายละเอียดของระบบ พจนานุกรม ข้อมูล ตลอดจนช่วยตรวจสอบความถูกต้องของแผนงานที่สร้างขึ้น และรายงานผลข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย เรียกซอร์ฟแวร์ประเภทนี้ว่า “เครื่องมือสนับสนุนการพัฒนาระบบ (Computer-Aided System Engineering : CASE Tools)”

อ้างอิงเนื้อหา
อ้างอิงรูปภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น